รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Main Article Content

นภาพร มูลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 2) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 โดยการตรวจสอบกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นจากหลักการ แนวคิดและทฤษฎี ดังนั้นเพื่อให้ผลการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังเคราะห์การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และระยะที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหาร สถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งตามระยะการวิจัย ดังนี้ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังเคราะห์การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่เข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และมีผลการปฏิบัติเป็นเลิศ จำนวน 1 โรงเรียน จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน โดยการวิพากษ์และสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทอง สภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 350 คน ได้มาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yaname) จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยขอสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี ได้แก่ หมายถึง การบริหารตามองค์ประกอบตามทฤษฎีเชิงระบบ (System Theory) ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนนำ ระบบการบริหารแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำรูปแบบไปใช้ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จและข้อจำกัด มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ มีผลการประเมินด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้องของรูปแบบ และด้านความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ความพึงพอใจที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
Research article

References

กนกภรณ์ รัตนยิ่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) จังหวัดยะลา. รายงานการวิจัย. ยะลา: โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ยุทธศาสตร์์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา(2550-2554). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กลยุทธ์การจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ชนิต ต๊ะนัย. (2551). การน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนบ้านเทิดไทยอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เบญจมาพร โยกเกณฑ์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วันโชค วารินิน. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.