การส่งเสริมความสามารถการทำงานร่วมกันของนักศึกษาครูในการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดสำหรับเด็กประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความสามารถการทำงานร่วมกันของนักศึกษาครูในการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดสำหรับเด็กประถมศึกษา กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา รหัส 6011216 จำนวน 27 คนคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดสำหรับเด็กประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test dependent, independent) ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักศึกษาครูที่เรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดสำหรับเด็กประถมศึกษา โดยการทำงานร่วมกัน พบว่า อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กาญจนา คุณารักษ์. (2545). หลักสูตรและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.
วีระศักดิ์ แก่นอ้วน. (2556). การทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดในมุมมองของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (พ.ศ.2557-2560)“สะท้อนปัญหาและทางออก ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
ศิริประภา พฤทธิกุล. (2557). การสร้างกระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(1), 75 – 88.
Anderson, K.B., and Pingry, R.E. (1997). Problem-solving in mathematics;It’s theoryand practice. Washington, D.C.: The National Council of Teachers of Mathematics.
Arend, B. (1999). Practical instructional design : Applying the basics to youronline course, Retrieved May 2, 2012, from http://leahi.kcc.hawaii.edu/org/tcon99/papers/arend.html, [2012,].
Barkley, Elizabeth F., Cross, K. Partricia and Major, Claire Howell. (2004). Collaborativelearning techniques: A handbook for College Faculty. USA : Wiley Imprint.
Baroody, A. J. (1993). Problem Solving Reasoning and Communication K-8. HelpingChildren Think Mathematically. New York : Macmillan.