การจัดประสบการณ์แบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์
จุฑาทิพย์ โอบอ้อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดฤกษ์หร่ายสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบไปด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 12 แผน แบบประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัย แบบบันทึกพฤติกรรมพฤติกรรมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดประสบการณ์แบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 48.36 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 84.64 คะแนน เมื่อพิจารณารายด้าน คือ ด้านการคิด มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 11.48 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 21.44 คะแนน ด้านความสัมพันธ์มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 12.40 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 20.44 คะแนน ด้านการทำงาน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 12.28 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 20.84 คะแนน ด้านตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 12.20 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 21.92 คะแนนและผลจากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในขณะจัดประสบการณ์ พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนขนาดในสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์สุดท้ายมีพฤติกรรมการกำกับตนเองที่สูงขึ้นตามลำดับ

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สร้างภาวะผู้นำในเด็กและเยาวชนไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2567&Key=hotnews. (วันที่ค้น ข้อมูล : 21 มกราคม 2562).

เกสร กอกอง. (2560). การพัฒนาหลักสูตรคละอายุเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(3), 19-35.

ครูมือใหม่. (2553). การเรียนการสอนแบบคละชั้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก : https://www.gotoknow.org/posts/330243. (วันที่ค้น ข้อมูล : 21 มกราคม 2562).

โควีย์, สตีเฟน. อาร์. (2554). ผู้นำในตัวฉัน. แปลโดย อมรรัตน์ ศรีสุรินทร์. กรุงเทพฯ : อินสปายร์.

โม้งหัวครก. (2550). การสอนแบบคละชั้น : การแก้ปัญหาในโรงเรียนขนาดเล็ก # 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก : http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=180503. (วันที่ค้น ข้อมูล : 21 มกราคม 2562).

ศตพร ศรีทิพย์. (2558). ผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการสอนแบบ 4-H ที่มีต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี : แนะแนวสำหรับผู้ดูแลเด็ก ครูและอาจารย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.