การพัฒนาทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

อุไรวรรณ ปานทโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงงานคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์. แบบวัดการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และการลงมือทำโครงงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาการวางแผนในการทำโครงงาน อยู่ในระดับมาก และการเขียนรายงาน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2. การศึกษาการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ พบว่าการทำงานเป็นทีม โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และทุกคนในกลุ่มมีความภูมิใจในผลงานของกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาทุกคนในกลุ่มยอมรับความผิดพลาดร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกคนในกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
อุไรวรรณ ปานทโชติ. (2022). การพัฒนาทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(11), 104–114. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/950
บท
Research article

References

ปิยนุช นุตตะรังค์. (2558). การสร้างบทเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรัฐทยา ฝั้นสืบ. (2557). การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการทำโครงงานคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนร่องเคาะวิทยา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.

สุดารัตน์ ไตรยวงษ์ (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์กับโครงงานคณิตศาสตร์ ร่วมทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุรัสวดี จินดาเนตร. (2553). การพัฒนาคู่มือการสอนโครงงานคณิตศาสตร์สำหรับครูในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวรรณา ตั้งแก้ว. (2556). ผลการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้ายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง จังหวัดระยอง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Lori L. Pierce. (2009). Project Based Instruction in a Sixth Grade Mathematics Classroom: A Case of Roller Coasters. U.S.A.: University of Nebraska – Lincoln.