การศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืชของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุดกิจกรรม STEM

Main Article Content

กนกวรรณ เสียงล้ำ
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
ชารี มณีศรี
อดุลศักดิ์ สุนทรโรจน์
รุจิรา ศรียันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืชของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุดกิจกรรม STEM ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และความพึงพอใจในการเรียนรู้ และ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองแวงใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า (t-test) แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุดกิจกรรม STEM ดังนี้ 1.1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับดีเยี่ยม 1.2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดีเยี่ยม 1.3) ด้านความพึงพอใจในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุดกิจกรรม STEM มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). วิธีสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนปัตย์ ปัทมโกมล, ปรีชา เนาว์เย็นผล และอุษาวดี จันทรสนธิ. (2556). “ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยการใช้วิธีสอนแบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมารีย์วิทยา” ใน วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่15 (3), หน้า 95 - 102.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นูรอาซีกีน สาและ, ณัฐินี โมพันธุ์ และมัฮดี แวดราแมคู. (2559). “ ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”. ใน วารสารมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 4 (1), หน้า 42 - 53.

พลศักดิ์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม และปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ” ใน วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 9 (พิเศษ), หน้า 401 –408.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ:พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วรรณธนะ ปัดชา. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบ สสวท. เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553).แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพัตรา โคตะวงค์. (2559). การส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมแพศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(คอมพิวเตอร์ศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อภิชาติ อ่อนเอม. (2559). ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อรุณสิริ จันทร์หล่น และภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2560). “การพัฒนาแนวทางพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1” ใน วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 11 (3), หน้า185 - 194.

Ceylan S., Ozdilek Z. (2015). Improving a Sample Lesson Plan for SecondaryScience Courses within the STEM Education. Procedia–Social and Behavioral Sciences, 177, 223 - 228.

Han, S., Capraro, R. and Capraro, M.M. (2014). How Science, Technology,Engineering and Mathematics (STEM) Project-based Learning (PBL) affects High, Middle andLow Achievers Differently: The Impact of Student

Factors on Achievement. International Journal of Science and Mathematics Education, 12 (2), 1089 – 1113.

Scott, C. (2012). An Investigation of Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Focused High School in the U.S. Journal of STEM Education, 13 (5), 30 – 39.