การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานเพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยเปรียบเทียบสุขนิสัยของนักเรียน ดังนี้ 2.1)เพื่อเปรียบเทียบสุขนิสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัย 2.2)เพื่อเปรียบเทียบสุขนิสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมนิทานเพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2) แบบทดสอบวัดสุขนิสัยก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปได้ดังนี้ 1.1 ผลการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆ ของชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 3 ชุด พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 1.2 ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าผลการทดลองชุดกิจกรรมจำนวน 3 ชุด กับนักเรียนจำนวน 9 คน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.60/87.80 และนำไปทดลองกับนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่ามีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.23/87.15 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2. ผลการเปรียบเทียบสุขนิสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปผลดังนี้คือ สุขนิสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และมีสุขนิสัยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมนิทานเสริมสร้างสุขนิสัยเด็กปฐมวัยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560.กรุงเทพมหานครกระทรวงศึกษาธิการ.
กรองกาญจน์ เชิญชัยวชิรากุล. (2550). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนในกลุ่มสมาคมสหศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
กันยา ลุมพิกานนท์. (2548). กิจกรรมเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.ฉะเชิงเทรา :คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เกศรา เสนงาม แจ่มจันทร์ กุลวิจิตร และ ลักขณา คงแสง. (2554). ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเด็กที่รับบริการ ที่ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย.วารสารพยาบาลสงขลา. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555.
จิตติมา เล็กยิ้ม. (2553). ศึกษาวิจัย เรื่องการศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กวัยอนุบาล โรงเรียนสายลม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชา การศึกษาปฐมวัยภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2546). การจัดการศึกษาระดับบริบาล. มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
เทิดศักดิ์ จันเสวี. (2549). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย,กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย:คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ: จามจุรี.
สรวีย์ พวงเดชานนท์. (2559). ผลการใช้หนังสือนิทานร้อยกรองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน“:วิทยาลัยนครราชสีมา.
สัณหพัฒน์ อรุณธารี. (2543). วารสารการศึกษาปฐมวัยปีที่ 4 ฉบับที่ 1 โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย.ภูเก็ต : คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏภูเก็ต.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มิสท์.
ศิริชัย กาณจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ :บริษัทพิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2554. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ 2555 สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561 จาก http://www.nesdb.go.th/.