ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

สุนิสา เนาวรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และพฤติกรรมของผู้บริหารที่มีส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน จากนั้นดำเนินการโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)  ผลการวิจัย พบว่า 1. บรรยากาศองค์การของโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และพฤติกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและเป็นลักษณะบรรยากาศองค์การแบบควบคุม 2. วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและพฤติกรรมของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน(X1), ด้านความหลากหลายของบุคลากร(X110) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร,ด้านการกระตุ้นทางปัญญา(X23) พฤติกรรมของผู้บริหาร ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข(X32), ด้านการประสานงาน(X36),ด้านการให้การยอมรับนับถือ(X33) และด้านการเข้ากับสังคมได้อย่างดี(X37) ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์บรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ได้ร้อยละ 79.10

Article Details

How to Cite
สุนิสา เนาวรัตน์. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(12), 82–101. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/960
บท
Research article

References

กุลรัศมิ์ พรมไธสง. (2555). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อบรรยากาศองค์การตามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลศิริราช.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาบริหารงานสาธารณสุข,คณะสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหิดล.

คำเพชร ศิริบูรณ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีเขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จันทา ชุมทัพ. (2548). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการบริหารการศึกษา,บัณฑิตศึกษา,คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จันทนา วิปุลาสาสน์. (2549). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การและบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการพัฒนไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลหาดใหญ่.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรหาบัณฑิต สาขาการบริหารองค์การ,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยสงขลา.

จันทร์ทา ตันติศักดิ์ศรี. (2558). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชากาบริหารการศึกษา,คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จีระ นารถมณี. (2551). ความคิดเห็นของข้าราชการที่มีต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชานโยบายสาธารณะ,วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนีย์ ปาละ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนแปลงของผู้บริหารกับบรรยากาศ องค์การของโรงเรียนเอกชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหาร การศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปวีณา คำมูล. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงเยาว์ รักพ่วง. (2551). วัฒนธรรมองค์การของครูโรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย,คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลับราชภัฎพระนคร.

นาถนดา พรมจะมร. (2557). พฤติกรรมผู้นำของผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าตะเกียบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2.งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรนภา เลื่อยคลัง. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของ โรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 6.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีรวิชญ์ วังนุราช. (2554). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: มนตรี.

เรียมใจ คูณสมบัติ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,สาขาวิชาการจัดการ,คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

หทัยชนก บุญมาก. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การโรงเรียนอำเภอสองพี่น้อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9.งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

หทัยรัตน์ ตันสุวรรณ. (2550). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการนิคมอุตสหกรรมแห่งประเทศไทสำนักงานใหญ่.สารนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาวิชาการจัดการคณะศึกษาศาตร์,มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ.

สุณิสา ชิณนะพงษ์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พนักงาน กรณีศึกษา บริษัทโรงพยาบาลราษฎร์ยินดี จำกัด (มหาชน).วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (2561). คำสั่งย้ายและแต่งตั้งครูลุบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร.

Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1990). The four Is Transformational Leadership. Journal of European Industrial Training, 15 (2).

Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organizational theory and management: A macro approach. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Griffiths, D. E. (1956). Human relation in school administration. New York: Appleton Century-Crofts.

Halpin, J.F.; & Croff, D.B. (1966). The Organizational Climate of School. p.138-181.Chicago: University of Chicago Press.

Hellriegel,D.: & Slocum , J. W. (1974). Management: A Contingency Approach. Reading, Mass.: Addison-Wesley.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Patterson, J., Purkey, S., & Parker, J. (1986). Guiding beliefs of our school district, Productive school system for a nonrational word. Arlington, VA: Association for supervision and curriculum development.