การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model เรื่อง วิวัฒนาการรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (ว31242) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ธิติวรดา อาจหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model เรื่อง วิวัฒนาการ รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (ว31242) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนซับนกแก้ววิทยา ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวนนักเรียน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “SCIENCE Model” ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นให้เชื่อมโยง (Stimulation : S) ขั้นปรึกษาหารือและสืบค้น (Consultation and Inquiry : CI) ขั้นตรวจสอบ (Examine : E) ขั้นสังเกต บันทึก (Note : N) ขั้นลงข้อสรุป (Conclude : C) และขั้นขยายความรู้ (Expand knowledge) : E) ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 83.73/82.64 ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model เรื่อง วิวัฒนาการ รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (ว31242) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SCIENCE Model เรื่อง วิวัฒนาการ รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (ว31242) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า มีคะแนนพฤติกรรมการแสดงออกคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 84.96

Article Details

บท
Research article

References

กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญาวีร์ ชายเรียน, สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2559, กรกฎาคม – ธันวาคม).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 18 -32.

กาญจนา ศรีโสภา. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นกับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้ง 17. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญุรีย์ สมองดี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรี โพชนา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อ วิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : สสวท.

Joyce, B. & Weil, M. (2009). Model of teaching. 8th ed. Boston, Ma : Pearson.