แนวทางการส่งสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย ของคณาจารย์ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. ผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2. คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 3. เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคคล มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านบทความวิจัย ด้านแหล่งตีพิมพ์ และด้านการเงิน ตามลำดับ, ผู้บริหารคณะครุศาสตร์ คณาจารย์คณะครุศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรที่มีความคิดเห็นต่อความต้องการการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย มีความต้องการโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อความต้องการให้องค์กรควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และความคิดเห็นต่อความต้องการการส่งเสริมการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัย ในระดับมาก ได้แก่ องค์กรควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ด้านการเขียนบทความ องค์กรควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อชัก จูงให้คนในองค์กรปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิต ทั้งปริมาณ และคุณภาพมากที่สุด ควรมีศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนตรวจสอบบทความ และดำเนินการส่งตีพิมพ์เผยแพร่ องค์กรควรมีที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในการเขียนบทความภาษาต่างประเทศ ตามลำดับ โดยมีข้อคิดเห็นโดยภาพรวม ดังนี้ องค์กรควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อชักจูงให้บุคคลในองค์กรปฏิบัติงาน ให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพมากที่สุด ควรมีศูนย์ส่งเสริม ตรวจสอบและการส่งตีพิมพ์ องค์กรควรมีที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในการเขียนภาษาต่างประเทศ จากสรุป ผลการวิจัย จะเห็นได้ว่าแนวทางการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย คือ องค์กรควรสร้างแรงจูงใจ เพื่อชักจูงให้บุคคลในองค์กรปฏิบัติงานให้ ได้ผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
รสริน พิมลบรรยงก์. การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ. วารสารสารสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนคราชสีมา. มิถุนายน–กันยายน 2555.
ชุติมา สัจจานันท์. การเขียนบทความวิจัยและการนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติ. สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มีนาคม 2557.
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์. เกร็ดความรู้ดี ๆ ในการเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กุมภาพันธ์ 2557.
สุนันทา จริยาเลิศศักดิ์. เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/pasts /361166 (22 มิถุนายน. 2555).
John W. Best. (1981). Research in Education. 4th ed. NJ: Prentice – Hall Inc.
J. Stacy Adams. (2557). ทฤษฎีความเสมอภาค. สืบค้น เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557, จาก http://yoosook11. blogspost.com/2011/01/equity-theory.htm.
Rafat Siddique, Ankur Mehta, Construction and Building Materials 50 (2014) 116–129. Minoru Ueda,
et al, Intermetallics 12 (2004) 55–58. C.G. Hindrichsen, et al, Sensors and Actuators A 163 (2010) 9–14.
Sung-Ho Lee , Masayoshi Esashi, Sensors and Actuators A 114 (2004) 88–92.
Elsevier B.V. (2015a). Author In formation Pack. Retrieved May 15, 2015, from http://www.elsevier.com/ journals/tourism–management/0261-5177? Generate pdf– true 29.
Elsevier B.V. (2015b). Pre–registration Page. Retrieved May 15, 2015, from http://ees.elsevier.com/jtma/default.asp?pg–preRegistration.asp.
SAGE Publications. (2015). Manuscript Submission Guidelines. Retrieved May 15, 2015, from http://www.uk.sagepub.com/journalsProd Desc.nav?prodId–Journal 200848&ct_p–manuscript Submission & cross Region–asia.
Scholar One, Inc. (2014). The Journal of Hospitality & Tourism Research Manuscript Submission. Retrieved May 15, 2015, from https://mc.manuscriptcentral. com/jhtr.
Thomson Reuters. (2015). Master Journal List. Retrieved May 15, 2015, from http://ip–science. thomsonreuters.com/mjl/.
Victor Vroom. (1964). ทฤษฎีความคาดหวัง. สืบค้น เมื่อ 5 พฤศจิกายน2557, จาก http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php.