การพัฒนารูปแบบสมรรถนะในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก; การออกแบบการจัดการเรียนรู้; รูปแบบสมรรถนะบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกครูสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกครูสังกัดกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนในเขตบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 16 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบบันทึกข้อคำถามการสัมภาษณ์ 2) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐานและใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าผลการสังเคราะห์รูปแบบ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1) เป็นรูปแบบเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (2) ออกแบบกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ (3) ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นขั้นตอน และ (4) ใช้การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่ารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการเรียนรู้ตามกระบวนการผ่านการจัดกิจกรรมตามการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะให้ผู้เรียนมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีรากฐานแนวคิดมาจากการศึกษาที่เน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีกิจกรรมด้านการรู้คิดและกิจกรรมด้านพฤติกรรมมาเกี่ยวข้อง ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนทั้งทักษะการคิด ภาษา และเทคโนโลยี เป็นการนำวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่มีความหลากหลายมาใช้ที่มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้เป็น เพื่อนำไปปฏิบัติแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงประกอบอาชีพได้ในอนาคต นับได้ว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้หนึ่ง ที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
References
กลุ่มมาตรฐานการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก พิมพ์ครั้งที่ 1: กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.
ทรรศนัย โกวิทยากร และมาเรียม นิลพันธุ์. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับประถมศึกษาด้วยเกมการเรียนรู้เป็นฐานสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันแอลฟา. KKU International Journal of Humanitiesand Social Sciences, 11(3), 173-195.
วิรัตน์ แก้วสุด และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศ PPDER เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) ที่เน้นกระบวนการ PLC สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 . (151-155) 267 หน้า
สำนักการศึกษา. (2562). รายงานผลดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา2562. กรุงเทพ ฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สภาพการจัดการศึกษาเฉพาะในประเทศไทย ปี 2562 – 2563 : การผลิตบุคลากร. บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. กรุงเทพ ฯ.
หน่วยศึกษานิเทศก์. (2560). แนวทางการนิเทศและพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพ ฯ. ค้นจาก http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf
อนุสสรา เฉลิมศรี. (2563). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. (ปริญญานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ ฯ.
อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 169-183.
Sleeter,N., Schrum,K., Swan,A., & Broubalow, J. (2020). “Reflective of my best work”: Promoting inquiry-based learning in a hybrid graduate history course. SAGE journals Arts and Humanities in Higher Education, 19(3), 285-303. doi.org/10.1177%2F1474 022219833662.
Mclaughaln, T. (2021). Giovanna Fassetta, Nazmi Al-Masri and Alison Phipps (eds), Multilingual online academic collagorations as resistance: Crossing impassable borders. SAGE journals Arts and Humanities in Higher Education. 21(1), 111-115.
Ahmad, N. and Iksan, Z. (2021) Edmodo-Based Science Module Development on Students’ Mastery of Science Process Skills: Need Analysis. Creative Education, 12, 2609-2623. doi: 10.4236/ce.2021.1211195.
Dahech, F. , Guemri, N. , Masmoudi, L. and Souissi, N. (2021). Motor Games Effects on Learning to Spell Numbers in 5- to 6-Year-Old Pupils. Creative Education, 12, 2471-2483. doi: 10.4236/ce.2021.1210185.