การพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงวิชาเคมีโดยใช้สื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมเรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นุสรา มูหะหมัด โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พีรพงศ์ บุญฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://orcid.org/0000-0002-3677-4572
  • กรรณิกา เงินบุตรโคตร โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

สมรรถนะการคิดขั้นสูง, สื่อความเป็นจริงเสริม, เคมีอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงในการเรียนรู้รายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง หมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์ โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 46 คน เป็นกลุ่มการทดลองกลุ่มเดียว โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูง โดยใช้สื่อการเรียนรู้รายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ศึกษาสมรรถนะการคิดขั้นสูงก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์มากขึ้นโดยมีสมรรถนะการคิดขั้นสูงหลังเรียน (µ= 17.07, σ= 3.67) สูงกว่าก่อนเรียน (µ= 7.67, σ= 3.22) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะสมรรถนะการคิดขั้นสูงโดยใช้สื่อการเรียนรู้ความจริงเสริมในการเรียนเรื่องหมู่ฟังกันของสารอินทรีย์ในระดับมากที่สุด (µ= 4.55, σ= 0.75)

References

กมลพร ทองธิยะและกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 28-44.

กรรณิกา เงินบุตรโคตร, พีรพงศ์ บุญฤกษ์และนุสรา มูหะหมัด. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมเรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ด้วยโปรแกรม SketchUp และ Pixlive Maker. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 441-453.

ชาตรี ฝ่ายคำตา, ธาฤชร ประสพลาภ, อนุพงศ์ ไพรศรี, เขมวดี พงศานนท์, นิอร ภูรัตน์ และกุลธิดา สะอาด. (2566). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพที่ส่งเสริมสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเฉพาะที่เน้นการคิดขั้นสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 6(1), 63-73.

ดวงใจ โชว์ทะเล, พีรพงศ์ บุญฤกษ์, ศุภษิกานต์ ลบบำรุง, นุสรา มูหะหมัด และกมณรัตน์ นทีสินทรัพย์. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้สะเต็มศึกษาบูรณาการการคิดเชิงวิศวกรรม ที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 6(1), 74-90.

พรสรัญ ชัยยา สวนันท์ แดงประเสริฐ และ ธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 140-148.

ศักดิ์สิทธิ์ สีหลวงเพชร, พิศมัย ศรีอำไพ และนิภาพร ชุติมันต์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะ การคิดขั้นสูงสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 177-191.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สมรรถนะการคิดขั้นสูง. Retrieved May 12, 2021. From https://cbethailand.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023