การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง เพศวิถีศึกษากับสังคมพหุวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • Wirutchada Sawangaroon -
  • ชนสิทธิ์ สิทธิสูงเนิน มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม, เพศวิถีศึกษา, สังคมพหุวัฒนธรรม, Training Curriculum Development, Sexuality Education, Multicultural Society

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง เพศวิถีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฯ 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตร
การฝึกอบรมฯ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมฯ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 58 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง เพศวิถีศึกษากับสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ (3) แบบวัดทัศนคติ (4) แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติตน และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฯ พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานโดยกระบวนการกลุ่ม ด้านเนื้อหา เป็นลักษณะสถานการณ์จำลอง
ที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีการวัดผลและประเมินผลให้ครอบคลุมพฤติกรรมและหลายรูปแบบ
2. ผลการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ หลักสูตรภาคทฤษฎีทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เพศไม่ใช่แค่ชายหญิง (LGBTQ+) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 my body my choice หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เท่าเทียมยุติความรุนแรง หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 รู้หน้าไม่รู้ใจ ปลอดภัยแบบปลอมๆ (it follows) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 นี่แหละตัวฉัน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เราอยู่ร่วมกัน บ้านฉันบ้านเธอ และภาคปฏิบัติเพศวิถีศึกษา คือ ฝึกปฏิบัติเพศวิถีศึกษา และภาคปฏิบัติเพศวิถีศึกษา โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมฯ มีการทดสอบก่อนการฝึกอบรม โดยใช้หลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการสอน และการวัดและการประเมินผล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวม 2 วัน ณ โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน โดยมีวิทยากรให้ความรู้ ทำการทดสอบหลังเรียนและประเมินผล
4. ผลการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมฯ พบว่า (1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมฯ สูงกว่าก่อนเรียน (2) นักเรียนมีทัศนคติอยู่ในระดับดี (3) นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรการฝึกอบรมในระดับมากที่สุด

References

จินดารัตน์ แก้วพิกุล. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมาตรฐานสากล [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ฉรัต ไทยอุทิศ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักการ Balanced Scorecard [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาหลักสูตร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2551). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย ต้นทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูวิทยาศาสตร์และค่านิยมในการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปาณิสรา ตะนุมงคล. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนโรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์. (2560). วัยรุ่นไทยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 25.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2554). การแนะแนวเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. อาร์ แอนด์ ปริ้น.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2564, 2 พฤษภาคม). คู่มือการขับเคลื่อนงานการสร้างภูมิคุ้มกันของสังคมในมิติวัฒนธรรม. https://www.m-culture.go.th/surveillance/ewt_dl_link. php?nid=2140ใ

สิงหา จันทร์ขาว. (2558). การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับสามเณรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนพระปริยัติธรรม. วารสารครุศาสตร์, 10(1), 157-168.

สุชาติ โสมประยูร และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2553). เทคนิคการสอนสุขศึกษาแบบมืออาชีพ. ดอกหญ้า วิชาการ.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). SU Model: การประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้. วารสารวิชาการ Veridien E-Journal, 7(3), 945-961.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสําคัญที่สุด. บริษัทพิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. (2562, 29 มิถุนายน). แนวปฏิบัติสากลทางวิชาการ เรื่องเพศวิถีศึกษา โดยใช้แนวทางที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน (ฉบับปรับปรุง). https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000368655

Banks, A. J. (2001). Cultural diversity and Education : Foundation. Curriculum and Teaching. Pearson/Allyn and Bacon.

Best, J. W. (1981). Research in Education. Prentice–Hall.

Cortes, C. E. (1996). The Children Are Watching: How the Media Teach About Diversity. Teacher College Press.

Oliva, Peter F. (1992). Developing The Curriculum. (3 rd ed). Harper Collins Publishers.

Taba, H. (1962). Curriculum Development. Theory and Practice. Harcourt Brace & Word.

Tyler, R. W. (1969). Basic Principles of Curriculum and Instruction. The University of Chicago Press

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society : The developmental of higher psychological processes. (V. J. S. In M. Cole, S. Scribner & E. Suberman Ed.). Harvard University Press.

World Health Organization. (1998). Education for health: a manual on health education in primary health care. World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022