รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS เพื่อพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • Pathitta Piyasakulsawee -
  • บุษบา สนใจ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดกิจกรรม, MAPS, ทักษะทางภาษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกิจกรรมด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS 2) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย 5 ด้านของผู้เรียนภายหลังจากกิจกรรมรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย 5 ด้านของผู้เรียนหลังร่วมกิจกรรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สไตล์ MAPS ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS ประกอบด้วย M : motivation หมายถึง สร้างพลังให้เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม  A : acquire หมายถึง การจัดการความรู้ความเข้าใจ ด้วยประสบการณ์ผ่านผลงานของตนเอง  P : playfulness  หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ประกอบด้วยความมุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้อย่างมีความสุข  S : stage  หมายถึง การนำเสนอ หรือแสดงผลงานของตน จากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเข้าใจ มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.48, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.45) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมพลังไฉไล สไตล์ MAPS ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.69, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.52)

References

กาญจนา นาคสกุล. (2551). การใช้ภาษา. เคล็ดไทย.

คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ศูนย์วิชาการบูรณาการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงกมล พลคร. (2553). การพัฒนาแบบประเมินทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). สุวีริยาสาส์น.

บุหลง ศุภศิลป์. (2554). รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง– พูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(2).

ปทิตตา ปิยสกุลเสวี. (2558). การประเมินหลักสูตร Young Professional ท้าทายผัน วิชาชุมนุมเมล็ดพันธ์แห่งปรีชาญาณ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2563, 16 มิถุนายน). สำรวจผลกระกระทบหลัง COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. https://workpointtoday.com/education-covid 19.

เยาวลักษณ์ อินสุวรรณ์. (2541). การสร้างแบบฝึกการฟังภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย. เคล็ดไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID -19 ) https://www.vec.go.th

Ann Miles Gordon and Kathryn Williams Browne. (1985). Beginnings and Beyond: Foundations in Early Childhood Education. Delmar Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022