การศึกษาปัญหาความวิตกกังวล และเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • กมณรัตน์ นทีสินทรัพย์ Phranakhon Rajabhat University
  • ศุภษิกานต์ ลบบำรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • พีรพงศ์ บุญฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://orcid.org/0000-0002-3677-4572

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, เจตคติ, การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 155 คน โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีจำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามความวิตกกังวลในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.79 และ 2) แบบสอบถามเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนที่ได้จากการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.80) นักเรียนมีความวิตกกังวลมากที่สุดเมื่อมีการสอบเก็บคะแนนในวิชาวิชาวิทยาศาสตร์ และค่าเฉลี่ยของเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.49) โดยนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่มีการปฏิบัติการเพื่อค้นคว้าหาคำตอบ

References

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2530). การสร้างแบบวัดเจตคติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 2(2), 137-155.

ประยุทธ ไทยธานี. (2552). การลดความวิตกกังวลในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยเทคนิค การสร้างสัญญาณพลังแบบองค์รวมตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประสาท อิศรปรีดา. (2549). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา

ปาหนัน บุญหลง. (2534). สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สามเจริญการพิมพ.

ลัดดา กิติวิภาต. (2554). เจตคติและความคิดเห็น = Attitudes and opinions : PC 264. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัลลภ ปิยะมโนธรรม. (2550). เทคนิคการแก้ไขอาการวิตก กังวล กลัว ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ฐานการพิมพ์.

ศศิกาญจน์ ชีถนอม. (2553). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ ภาษา (รูปแบบที่1) ที่ใช้สื่อการสอนซึ่งเน้นวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการสอนเดิม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 132-143.

ศักดิ์ชัย เสรีรัฐ. (2530) การพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับสอนซ่อมเสริม ในวิชาคณิตศาสตร์ ค.204 เรื่อง สมการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2543). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022