การสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลระหว่างจุดสำหรับนักท่องเที่ยว กับจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยว ของหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ, ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ, ระบบนิเวศใต้ท้องทะเล, คำสำคัญ: การสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ระบบนิเวศใต้ท้องทะเล ดำน้ำแบบเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ หมู่เกาะแสมสาร, หมู่เกาะแสมสารบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลระหว่างจุดสำหรับนักท่องเที่ยวกับจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวของหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี และ 2) เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลระหว่างจุดสำหรับนักท่องเที่ยวกับจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวของหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยกำหนดจุดสำรวจที่เกาะจาน ได้แก่ จุดดำน้ำหินหมูซึ่งเป็นจุดสำหรับนักท่องเที่ยว และจุดมิราเคิลซึ่งไม่มีนักท่องเที่ยวเนื่องจากไม่ใช่จุดที่ผู้ให้บริการจะพานักท่องเที่ยวมาดำน้ำ ผลในการสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลระหว่างจุดสำหรับนักท่องเที่ยวกับจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวของหมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรีนั้นจำแนกออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวางแผนการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ (PDCA) ระยะที่ 2 การสำรวจระบบนิเวศใต้ท้องทะเลด้วยการดำน้ำแบบใช้เครื่องช่วยหายใจ ความลึกไม่เกิน 18 เมตร ด้วยกระบวนการ “Open Water 7 Steps survey” ระยะที่ 3 การวิเคราะห์ผล ผลการศึกษาพบว่า จุดดำน้ำที่ไม่มีนักท่องเที่ยวนั้นมีค่า pH ต่ำกว่า และพบความหลากหลายของสัตว์มากกว่า ได้แก่ เม่นทะเลจำนวนมาก ปลา หมึก กระเบน และเต่าทะเล ในขณะที่จุดดำน้ำที่มีนักท่องเที่ยวนั้นมีค่า pH สูงกว่า และพบสัตว์เพียงสองชนิดคือ ปลาและเม่นทะเล ถึงแม้ว่าจุดดำน้ำที่มีนักท่องเที่ยวจะมีปลาจำนวนมากกว่าแต่ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นน้อยกว่า ดังนั้นจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวยังสามารถคงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลไว้ได้ดีกว่าจุดที่มีนักท่องเที่ยว
References
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยกองสมุทรศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. (2565). น้ำทะเล ก็มีมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ข้อมูลข่าวกรองภูมิสารสนเทศทางอุทกศาสตร์.
ตรรกพร สุขเกษม. (2560). ผลการสอนโดยใช้วงจรพีดีซีเอที่ส่งผลต่อคุณภาพผลงานของนักศึกษา
โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในรายวิชาธรรมาภิบาลในการจัดการ ภาครัฐ ภาคเรียนที่ 2/2560. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2563. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.shecu.chula.ac.th/home/content1.asp?Cnt=557
สุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์. (2559). ชีววิทยาและการอนุรักษ์เตาทะเลไทย. ภูเก็ต: สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง ทะเล และปาชายเลน.
เมตต์ ปุจฉาการ และคมสัน หงภัทรคีรี. (2558). ฟองน้ำทะเลและเอคไตโนเดิร์มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเมตต์ ปุจฉาการ และคณะ. (2559). การศึกษาความหลากหลายของชนิดสัตว์ทะเลในแนวปะการังในภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี). ชลบุรี: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา.
อิสระพงษ์ พลธานี และอุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2560). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนของเกาะทะล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(3), 394-404.
Alexey A. Kotov et al. (2022). Species Richness and Diversity of Aquatic Ecosystems: Lessons from a Special Issue. MDPI, Basel, Switzerland.
George R. Parsons et al. (2007). Valuing Changes in the Quality of Coral Reef Ecosystems: A Stated Preference Study of SCUBA Diving in the Bonaire National Marine Park. Environmental and Resource Economics, Netherlands.
Michael G. Sorice et al. (2007). Managing Scuba Divers to Meet Ecological Goals for Coral Reef Conservation. Royal Swedish Academy of Science, Sweden.
Myers et al. (2007). Cascading Effects of the Loss of Apex Predatory Sharks from a Coastal Ocean. Retrieved 17 July 2022, Retrieved from URL: www.sciencemag.org/cgi/content/full/315/5820/1846/DC1