The สิทธิทางการเมืองของสตรีที่มีบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • วีระชัย ยศโสธร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มนูญ สอนโพนงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ประทวน วันนิจ Buriram Rajabhat University

คำสำคัญ:

สิทธิทางการเมืองของสตรี, บทบาท, สังคมไทยปัจจุบัน

บทคัดย่อ

สิทธิทางการเมืองของสตรีที่มีบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาสตรีของประเทศไทย ซึ่งโดยเฉพาะการปรับเจตคติของคน ในสังคมไทยให้เข้าใจถึงความเสมอภาคระหว่างเพศการส่งเสริมและสร้างโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในอดีต นอกจากนี้ยังต้องมุ่งพัฒนาสตรี ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เช่น การพัฒนาเพื่อรองรับ การเข้าสู่สังคมสูงอายุพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงหรือประเด็นท้าทาย จากภายนอกประเทศ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อเรียกร้องหรือข้อกำหนดขององค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ      ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนส่วนร่วมในการในทางการเมืองมากขึ้นผู้หญิงควรจะใช้โอกาสนี้ได้พัฒนาตนเองพัฒนาศักยภาพบทบาทของผู้หญิงให้เทียบเท่ากับผู้ชาย และควรพัฒนาทางด้านการศึกษา วิชาชีพ ประสบการณ์ การเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้ทางสังคมให้มากขึ้นและสร้างองค์กรเครือข่ายของผู้หญิงให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นความสำคัญ ในการสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่เสมอภาค คนในสังคมมีเจตคติที่ดี ตระหนักและยอมรับถึงบทบาทสตรีในบริบทต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน สังคมไทยมีความเป็นธรรมยุติธรรมโดยสตรีทุกกลุ่ม มีโอกาสเข้าถึง และได้รับการศึกษาทุกระดับ มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สตรีมีสุขภาพ สุขภาวะ มีความมั่นคงในชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สตรีมีความมั่นใจ และมีศักยภาพในการเข้าร่วมทางการเมือง การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ องค์กรและกลไกสตรีระดับต่าง ๆ มีความเข้มแข็ง เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาสตรีให้มีสิทธิทางการเมืองในสังคมไทยปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

References

จีรติ ติงค์ภัทริย์. (2530). “แนวคิดเรื่องการพัฒนาสตรี” สตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์และการศึกษาวิจัยงานพัฒนาสตรี, คณะสังคมวิทยา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง. (2549). “ผู้หญิงและการพัฒนา” ในรวมบทความประเด็นเรื่องสตรี. รวบรวม โดยอมรา พงศ์พิศ, กรุเทพมหานคร: สถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมทินี พงษ์เวช. (2541). ผู้หญิงบนเส้นทางแห่งอำนาจและการตัดสินใจ, กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์ พับลิเคชันส์ จำกัด.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20, กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

https://th.wikipedia.org/wiki/ ปวีณา หงสกุล สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2565.

https://www.ptp.or.th/news สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2565.

https://www.posttoday.com/politic/columnist/647334. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

ยศโสธร ว. ., สอนโพนงาม ม., & วันนิจ ป. (2024). The สิทธิทางการเมืองของสตรีที่มีบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม, 4(1), 106–117. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/3015