การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแอปพิเคชั่นเน็ตฟลิกซ์ แก่ผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0
คำสำคัญ:
ไทยแลนด์ 4.0, การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, แอพพลิเคชั่นเน็ตฟลิกซ์บทคัดย่อ
ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยรัฐได้กำหนด วิสัยทัศน์ไว้ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การจัดการศึกษาในปัจจุบัน มุ่งเน้น การสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยครอบคลุมทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะด้านศีลธรรมจรรยาบรรณ และ ทักษะภาษาต่างประเทศส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลผลิตใหม่ ๆ การใช้เทคโนโลยีและ ข้อมูลข่าวสารเป็นตัวขับเคลื่อน มีทักษะคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อ ทำกิจกรรมหรือชิ้นงานให้สำเร็จ ช่วยให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้และทักษะภาษาที่ใช้ในสถานการณ์สื่อสารจริงผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองจากการเรียนตัวภาษา และการใช้ภาษาในสถานการณ์สื่อสารได้เหมาะสม ผ่านกิจกรรมสื่อสารที่ หลากหลาย การสอนภาษาที่เน้นภาระงานนับเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน ที่ต้องการพัฒนาคนไทยให้มีทักษะ ภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ สอดรับกับแนวคิดการพัฒนาประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0
References
ระพีพรรณ สุฐาปัญณกุล และวิสาข์ จัติวัตร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ เทคนิคโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี. เอกสารประกอบ การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ระดับชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2558.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาดาพับลิเคชั่น.
สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน และกมลวรรณ พลับจีน. (2560). พื้นที่ต้นแบบ Active Learning. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560.
สุวิทย์ เมษินทรี. (2559). สำนักงานอิสรา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.isranews.org/thaireform-other-news/51766-thailand-4051766.html. (2560, มีนาคม 2560).
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน. (2557). อึ้ง ผลการสอบภาษาอังกฤษไทยติดกลุ่มแย่. ฉบับที่ 28 มกราคม 2557.
อรุณี วิระยจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหน้าและหลังการสอน ภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ส เอเชียเพรส.
อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว. (2560). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ: การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.