This is an outdated version published on 2023-06-30. Read the most recent version.

บทความวิจัย การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ แก้วศรี -

คำสำคัญ:

การพัฒนาตน, ภาวนา ๔, ผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” มีวัตถุประสงค์ ๑). เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล   ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง ๒๘๖ คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน  โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way  ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช อยู่ในระดับที่มาก ค่าเฉลี่ยที่ ๓.๗๖ ค่าSD. ๐.๕๔  ๒) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมวชิรพยาบาลจำแนกตามเพศ สถานภาพ และการเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรม โดยภาพรวม พบว่า การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สนับสนุนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้   และผลการเปรียบเทียบการพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมวชิรพยาบาล จำแนกตาม อายุ   การศึกษา  รายได้ต่อเดือน  ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม พบว่า มีระดับการพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ แตกต่างกัน  ซึ่งสนับสนุนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

กนิษฐา ลิ้มทรัพย์. (๒๕๕๗). การตระหนักรู้ในตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิตและความผาสุกทางจิตวิญญาณ

ของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยลัย

เกษตรศาสตร์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (๒๕๖๕). สถิติผู้สูงอายุ. (ออนไลน์) https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159 สืบค้นเมื่อ วันที่ ๗

กรกฎาคม ๒๕๖๕.

จินุกูล หลวงอภัย. (๒๕๖๑). การพัฒนาทรัยพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๖ จังหวัด

นครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๑ หน้า ๗๕-๗๖.

ทัศมาวดี ฉากภาพ และกรกต ชาบัณฑิต. (๒๕๖๔). หลักพุทธธรรมสำหรับการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นคร

ลำปาง. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๔, หน้า ๑๗๗.

พรรณี วงศ์จำปาศรี. (๒๕๖๕). กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการจังหวัดนครพนม. วารสารสถาบันวิจัยพิมล

ธรรม. ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๕. หน้า ๒๗-๒๘.

พระกองสี ญาณธโร. (๒๕๖๐) ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา ๔ ในพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร.อุบล

ปริทรรศน์. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๐ หน้า ๘๘.

พระครูพิสณฑ์สิทธิการ (อรุณ ธมฺมวโร). (๒๕๖๑). กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะพลังบวกของผู้สูงอายุตามแนวพุทธ

จิตวิทยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรอำนาจ พลปญฺโญ(สวัสดี). (๒๕๖๑). รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษา

ตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่

๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๑ หน้า ๘๑.

พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก. (๒๕๖๓). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา๔ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกต อำเภอ

สะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ หน้า ๓๕-๓๖.

พระภูชิสสะ ปญฺญาปโชโต. (๒๕๖๒). การเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล

จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๒ หน้า ๔๙-๕๐.

พระครูสิริภูรินิทัศน์ ฐิตสคฺโค (ดิษสวรรค์) และคณะ. (๒๕๖๔). รูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารวิจย

วิชาการ. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ เมษายน – มิถุนายน ๒๕๖๔, หน้า ๑๓-๑๔.

นริสา วงศ์พนารักษ์(๒๕๕๖). การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ ๖, ฉบับที่ ๒ เดือน เมษายน – เมษายน ๒๕๕๖. หน้า ๑๖๐-๑๖๓.

ภินันท์ สิงห์กฤตยา. (๒๕๕๓). ศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนทัศน์และกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพตามแนว

พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มงคล สารินทร์ และ พระศรีวินยาภรณ์. (๒๕๖๔). การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้ายหลักภาวนา ๔ ใน กรุงเทพมหานคร.

วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๔ หน้า ๖๕-๕๗.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (๒๕๕๖). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัย

และพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

รัตนา คัมภิรานนท์, ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์, นารีรัตน์ ผุดผ่อง และกมล อาจดี. (๒๕๕๕). ความผาสุกทางจิตวิญญาณ

และความผาสุกของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางละมุง อำเภอบางละ

มุง จังหวัดชลบุรี. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลวชิรพยาบาล. (๒๕๖๑). ผลงานตามกลุ่มภารกิจกลุ่มโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนวมินทราธิ

ราช.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (๒๕๕๙) แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๔๔ มกราคม-เมษายน ๒๕๕๙ หน้า ๑๙๐.

สรชัย พิศาลบุตร(๒๕๕๖) การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (๒๕๕๙). ชาญชรา: ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ภาพพิมพ์.

อภิรดี โชนิรัตน์ และคณะ. (๒๕๖๓). ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ, วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. ปีที่

๓๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๓ หน้า ๙๓.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. ๒๕๔๓). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว ภาวะสุขภาพ การปฏิบัติธรรมกับ

ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

Versions

How to Cite

แก้วศรี ป. (2023). บทความวิจัย การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/658