การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ดาวน์โหลดไฟล์

 

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนสำหรับการส่งบทความต้นฉบับเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่

ใน วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ

(Manuscript Requirements and Style Guide for Authors)

ผลงานที่ขอรับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสาร และรูปแบบการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด โดยผู้นิพนธ์จะต้องลงทะเบียนในระบบของวารสาร และส่งบทความพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมมาในระบบ โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามรูปแบบของวารสาร ดังนี้

บทความวิชาการ

เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ที่เกิดจาก การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์งานวิจัยและงาน วิชาการ โดยมีการนำเสนออย่างเป็นระบบและตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่มีความเชื่อถือ มีการอ้างอิง หลักฐานทางวิชาการอย่างเหมาะสมและเชื่อถือได้มีการวิเคราะห์และวิจารณ์ที่ชี้ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญ อันเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอรวมถึงมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเหมาะสม การเขียนต้องยึดตาม หลักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการ โดยส่วนประกอบของบทความวิชาการมีดังนี้

  1. ส่วนนำ โดยกล่าวถึงความเป็นมาที่สำคัญของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ พื้นฐานขององค์ความรู้ที่ ต้องการนำมาสนับสนุน ลักษณะหรือสภาพปัจจุบันของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ มีความร่วมสมัย รวมถึงการ แสดงข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของบทความที่ผู้อ่านจะได้รับ
  2. ส่วนสาระสำคัญของบทความ ควรมีการจัดโครงสร้างและลำดับเนื้อหาสาระของบทความ โดย ผู้เขียนควรมีการวางแผนในการลำดับเนื้อหาที่นำเสนอให้มีความเหมาะสม มีความต่อเนื่องและความเหมาะสม ของภาษาที่ใช้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้ง่าย หากมีองค์ความรู้หลายส่วนที่ประกอบกันเป็น บทความ ควรแบ่งส่วนให้ชัดเจนตามลำดับที่เหมาะสมและควรแสดงการเชื่อมโยงแต่ละส่วนให้เหมาะสม
  3. ส่วนสรุป บทความวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ชัดเจน อาจเป็นลักษณะ ของการย่อความและเลือกเก็บประเด็นสำคัญของบทความมาทบทวนความเข้าใจของผู้อ่าน ในส่วนของการ สรุปท้ายบท
  4. ส่วนอ้างอิง บทความวิชาการจะต้องเป็นงานที่อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เกิดจากการสรุป วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ งานทางวิชาการของผู้อื่น จึงจำเป็นต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบงานเขียน ทางวิชาการ

บทความวิจัย

เป็นบทความทางวิชาการที่มุ่งนำเสนอผลที่ได้จากการวิจัยที่มีระเบียบวิธีการดำเนินการที่ถูกต้องตาม หลักวิชาการ ซึ่งบทความวิจัย ควรประกอบด้วย 

  1. บทนำ (Introduction) / ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยนำเสนอถึงที่มาของการทำ วิจัย ความสำคัญที่ทำให้เกิดงานวิจัย ควรมีการนำเสนอภาพรวมของบทความ สถานการณ์ปัจจุบันของประเด็น ที่ศึกษา แนวโน้มที่สำคัญ รวมถึงการให้ความหมายหรือนิยามศัพท์เฉพาะ ตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับจาก งานวิจัย ทั้งประโยชน์ทางวิชาการและประโยชน์ในการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้
  2. การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่ครอบคลุมแนวคิดและทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในการ วิจัย รวมถึงงานวิจัยที่นำมาใช้สนับสนุนหรือตามที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานของกรอบแนวความคิดในการทำวิจัย
  3. วิธีการดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ควรมีการอธิบายถึงระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ใน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวนและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย แนวทางการวิเคราะห์ผลหรือวิธีการทางสถิติ
  4. ผลการวิจัย (Research Findings) ควรเป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ชัดเจน สอดคล้องและ ครอบคลุมตามชื่อเรื่อง โดยอาจนำเสนอตามลำดับของวัตถุประสงค์หรือสมมติฐาน แต่จะต้องมีการนำเสนอ ภาพ ตาราง ค่าทางสถิติ การทดสอบสมมติฐาน ให้ถูกต้องตามหลักสากล
  5. สรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) การสรุปควรทำการสรุปตามวัตถุประสงค์ให้ ชัดเจนและควรมีการแสดงข้อค้นพบให้ชัดเจน สำหรับการอภิปรายผลควรนำข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยมาทำ การอภิปรายให้เกิดภาพที่ชัดเจนต่อผู้อ่าน เช่น สาเหตุที่ผลวิจัยเป็นเช่นนั้น การสนับสนุนแนวคิดตามกรอบการ วิจัยหรือไม่ มีความสอดคล้องและสนับสนุนแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาเป็นพื้นฐานในการทำวิจัยหรือไม่
  6. ข้อเสนอแนะ ผู้เขียนควรทำการเสนอแนะในแง่มุมข้อเสนอแนะทางวิชาการ ทางด้านโยบายหรือกลยุทธ์ และในการนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ ควรเสนอแนะในแง่ของงานวิจัยในอนาคต ควรศึกษาประเด็นใดเพิ่มเติมหรือควรระวังข้อจำกัดใดบ้าง
  7. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ควรมีการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษา รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับในแง่ของการในไปประยุกต์ใช้ การเกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือความรู้ใหม่ ที่ได้จากการทำวิจัยตามบริบทและขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้
  8. เอกสารอ้างอิง ทุกรายการอ้างอิงที่อยู่ในตัวบทความ จะต้องปรากฎรายการอ้างอิงท้ายบทความ และให้แสดงรายการอ้างอิงเฉพาะที่ปรากฎในบทความเท่านั้น (โดยรูปแบบการอ้างอิงให้ยึดตาม APA 7th)

การจัดเตรียมต้นฉบับ

          1) ต้นฉบับบทความต้อง เป็นไฟล์ Word มีความยาว ระหว่าง 12 - 15 หน้ากระดาษ ขนาด  A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบทุกด้าน  1 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 เซ็นติเมตร และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

          2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK ขนาด 20 ตัวหนา

          3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยอยู่ตรงกลาง และให้ตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อหน่วยงาน

          4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 320 คำต่อบทคัดย่อ

          5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)

          6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ควรเว้นระยะพิมพ์เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด ก่อนขึ้นหัวข้อย่อย

          7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมดและใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น 

          8) การอ้างอิง ใช้การอ้างอิงระบบ APA 7th โดยในเนื้อหามีรูปแบบเป็นทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ส่วนเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง (References) ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยจัดรูปแบบการอ้างอิงเอกสารตามลิงค์นี้ https://www.oreg.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=1877

กระบวนการของวารสาร

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า ต้นฉบับขนาด A4 ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) โดยกองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบผลงาน หากไม่ถูกต้องสมบูรณ์จะส่งกลับไปแก้ไข หากปรากฎว่าผู้นิพนธ์ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ตามข้อเสนอ กองบรรณาธิการจะทำการเลื่อนรอบตีพิมพ์ออกไปจนกว่าผู้นิพนธ์จะปรับปรุงให้เรียนร้อยและส่งกลับภายในระบบเรียบร้อยแล้ว เมื่อรูปแบบผลงานถูกต้องสมบูรณ์จึงนำเข้าสู่กระบวนการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้แจ้งผลการประเมิน ผ่าน/ไม่ผ่านหรือให้ปรับปรุงแก้ไข กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนได้ทราบและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ แล้วส่งกลับในระบบภายในระยะเวลา 1 เดือน เมื่อกองบรรณาธิการได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลงานแล้วจึงดำเนินการออกหนังสือตอบรับต่อไป โดยลำดับการตีพิมพ์เผยแพร่จะพิจารณาจากความสมบูรณ์ของผลงานและลำดับการส่งผลงานเป็นเบื้องต้น  ทั้งนี้ การพิจารณาของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์บทความใด ในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสาร เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผู้นิพนธ์จะได้รับลิงค์เผยแพร่ผลงานฉบับที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ

บทความวิจัย

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ