ปัจจัยความคาดหวังในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทผลิตขนมอบแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
ความคาดหวังในการทำงาน , ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน , ประสิทธิภาพการทำงานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยความคาดหวังในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตขนมอบแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทผลิตขนมอบแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอายุงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขอพนักงานในบริษัทผลิตขนมอบแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยความคาดหวังในการทำงานในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตขนมอบแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 43.2
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.
เกสรา บุญครอบ และภัทรนันท สุรชาตรี. (2565). การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 51-62.
เกียรติ บุญยโพ. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่. วารสารการจัดการปริทัศน์, 21(1), 165-170.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, อนุรักษ์ นวพรไพศาล และนิรันดา นวพร. (2565). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของพนักงานบริษัท ประธานการไฟฟ้า จำกัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(1), 40-54.
ประเสริฐศักดิ์ โพธิ์ทอง. (2565). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 263-273.
ปริศนา ศรีไกร และอภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์. (2564). อิทธิพลของความคาดหวังในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 45-59.
แพรวพรรณ ตรีชั้น, จุฑามาส ศรีชมภู, พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล, ภาวนา บำรุงสุข, พิชามญชุ์ เลิศวัฒนพระชัย, ภาวนา วิชาไพบูลย์ และกรกนก ทรายงาม. (2563).
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), 230-243.
วิชุดา สร้อยสุด, เมธินี อินทร์บัว, จีรภา มิ่งเชื้อ, ยุวดี เคน้ำอ่าง และโชติ บดีรัฐ. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 340-350.
วีรศักดิ์ อินทรประวัติ. (2560). ความคาดหวังของบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรบริษัท Play Digital Co., Ltd. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศุภกิจ ปัญญารัตนะ และจิราพร ระโหฐาน. (2562). ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานคนไทยในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 189-203.
เศรษฐา อันอารี, ทิฆัมพร พันลึกเดช, พุฒิธร จิรายุส, ศุภชัย วาสนานนท์ และดลฤดี วาสนานนท์. (2564). ปัจจัยความคาดหวังส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 281-292.
สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์ และอรรนพ เรืองกัลปวงศ์. (2565). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายใต้สภาพสังคมใหม่ (Next Normal). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(2), 82-108.
อังคณา ธนานุภาพพันธุ์, พงศ์พันธ์ ศรีเมือง และโสภณ สระทองมา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 236-249.
Peterson, E., & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management (3rd ed.). Irwin.
Porter, L. W., & Lawler, E. E. (1974). Managerial attitudes and performance. Irwin.
Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. Wiley.
Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). Harper & Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.