คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปรีญารัตน์ สายไฮคำ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน , ความผูกพันต่อองค์กร , บริษัททัวร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองกรณ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ พนักงานในบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 145 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพ การศึกษาและอายุการทำงานที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ยกเว้น พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและรายได้ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ ด้านธรรมนูญในองค์กร ด้านลักษณะงานที่มีส่วนรวมทางสังคม และด้านการบูรณาการทางสังคมในองค์กรส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัททัวร์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 74.8

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. https://api.tat.or.th/upload/annual_report/live/รายงานประจำปี%202560.pdf

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). คุณภาพเครื่องมือแบบสอบถาม : Validity กับ Reliability ในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 104-110.

ถาวร อ่อนลออ. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 101-116.

ทาริกา สระทองคำ, นนทวัฒน์ สุขผล, และวีรยา ศิริพันธ์. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 60-71.

ธนาคารกรุงไทย. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-65-3/the-knowledge-65-3-3.html

วลี สงสุวงศ์, แววมยุรา ศิรินภาวรากรกุล, จิณณพัต ชื่นชมน้อย, และศุภมาส สหพรพิทักษ์กุล. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่ง. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 95-109.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology, 63(1), 1-18.

Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers to work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.

Easton, S., & Van Laar, D. (2018). User manual for the Work-Related Quality of Life (WRQoL) Scale: a measure of quality of working life. University of Portsmouth.

Kelbiso, L., Belay, A., & Woldie, M. (2017). Determinants of quality of work life among nurses working in Hawassa town public health facilities, South Ethiopia: A cross‐sectional study. Nursing research and practice, 2017(1), 5181676.

Osibanjo, O. A., Adeniji, A. A., Falola, H. O., & Heirsmac, P. T. (2014). Compensation packages: a strategic tool for employees’ performance and retention. Leonardo Journal of Sciences, 25(1), 65-84.

Power, T. M. (2020). The economic value of the quality of life. Routledge.

Ramalho Luz, C. M. D., Luiz de Paula, S., & de Oliveira, L. M. B. (2018). Organizational commitment, job satisfaction and their possible influences on intent to turnover. Revista de Gestão, 25(1), 84-101.

Rhoades, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: a review of the literature. Journal of applied psychology, 87(4), 698-714.

Singh, A., & Gupta, B. (2015). Job involvement, organizational commitment, professional commitment, and team commitment: A study of generational diversity. Benchmarking: An International Journal, 22(6), 1192-1211.

Uysal, M., Sirgy, M. J., Woo, E., & Kim, H. L. (2016). Quality of life (QOL) and well-being research in tourism. Tourism Management, 53, 244-261.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15, 11-21.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29