ปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การที่ส่งผลต่อการคงอยู่ ของบุคลากรสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางด้านกายภาพ , สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ , การคงอยู่ในองค์การบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30 - 39 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาในการทำงาน 6 - 10 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 35,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหารงานองค์การ ด้านความสัมพันธ์ภายในองค์การ และด้านค่าตอบแทน ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสำนักงานสรรพากรภาค 3 กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 10.1
References
กรมสรรพากร. (2560). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2560. https://www.rd.go.th/8501.html
กรมสรรพากร. (2566). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์. https://www.rd.go.th/19954.html
คำลาว คำม่วง, เพชรไพลิน จินดำ และฤดี นิยมรัตน์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของบุคลากร บริษัท ไทยปาร์คเกอร์ไรซิ่ง จำกัด. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15 “Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2022” (น.129-139). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปณิตา นิรมล และนันธิดา อนันตชัย. (2563). ปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(2), 190-239.
อรัญญา ปาละกะวงศ์, อารีรัตน์ ขำอยู่ และลัดดาวัลย์ พุทธรักษา. (2563). สภาพแวดล้อมการทำงาน ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย และการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 95-104.
Al-Emadi, A. A. Q., Schwabenland, C., & Wei, Q. (2015). The vital role of employee retention in human resource management: A literature review. IUP Journal of Organizational Behavior, 14(3), 7-32.
Aman-Ullah, A., Aziz, A., & Ibrahim, H. (2020). A systematic review of employee retention: what’s next in Pakistan?. Journal of Contemporary Issues and Thought, 10, 36-45.
Aruna, M., & Anitha, J. (2015). Employee retention enablers: Generation Y employees. SCMS Journal of Indian Management, 12(3), 94-103.
Bratton, J., Gold, J., Bratton, A., & Steele, L. (2021). Human resource management. Bloomsbury Publishing.
Buchanan, D. A., & Huczynski, A. A. (2019). Organizational behaviour. Pearson UK.
Cloutier, O., Felusiak, L., Hill, C., & Pemberton-Jones, E. J. (2015). The importance of developing strategies for employee retention. Journal of Leadership, Accountability & Ethics, 12(2), 119-129.
Das, B. L., & Baruah, M. (2013). Employee retention: A review of literature. Journal of business and management, 14(2), 8-16.
Hancock, J. I., Allen, D. G., Bosco, F. A., McDaniel, K. R., & Pierce, C. A. (2013). Meta-analytic review of employee turnover as a predictor of firm performance. Journal of management, 39(3), 573-603.
Heavey, A. L., Holwerda, J. A., & Hausknecht, J. P. (2013). Causes and consequences of collective turnover: a meta-analytic review. Journal of Applied Psychology, 98(3), 412-453.
Huang, A., Chaiburee, R., & Chiwattanakorn, T. (2022). A study of job satisfaction of personnel influencing employee retention of Chinese e-commerce companies in Bangkok. Journal of Buddhist Innovation and Management, 5(2), 118-129.
Kamalaveni, M., Ramesh, S., & Vetrivel, T. (2019). A review of literature on employee retention. International Journal of Innovative Research in Management Studies, 4(4), 1-10.
Lewis, A., & Sequeira, A. H. (2016). Effectiveness of employee retention strategies in industry. Labour-Personnel economics e-journal. https://ssrn.com/abstract=2167719 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2167719
Pitaloka, E., & Sofia, I. P. (2014). The affect of work environment, job satisfaction, organization commitment on OCB of internal auditors. International Journal of Business, Economics and Law, 5(2), 10-18.
Qureshi, M. I., Iftikhar, M., Abbas, S. G., Hassan, U., Khan, K., & Zaman, K. (2013). Relationship between job stress, workload, environment and employees turnover intentions: What we know, what should we know. World Applied Sciences Journal, 23(6), 764-770.
Raziq, A., & Maulabakhsh, R. (2015). Impact of working environment on job satisfaction. Procedia Economics and Finance, 23, 717-725.
Singh, D. (2019). A literature review on employee retention with focus on recent trends. International Journal of Scientific Research in Science and Technology, 6(1), 425-431.
Yamane, T. (1973) Statistics an introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.