ปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทศพร จันทร์เพ็ชรสี โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทองฟู ศิริวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ลักษมี ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันในองค์กรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ พนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 192 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คุณภาพชีวิตในด้านความภาคภูมิใจในองค์กร ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ด้านธรรมนูญในองค์กร และด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทกำจัดแมลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 67.8

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). ผู้ป่วยโควิด-19 กับผลพวงด้านสุขภาพในระยะยาว. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30698

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2560). คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(1), 1-15.

ชนิกานต์ กระแก้ว และบุษกร วัชรศรีโรจน์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค: กรณีศึกษาบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), 117-127.

นทีรัย เกรียงชัยพร และอุทัย เลาหวิเชียร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณภาพชีวิตงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(30), 71-82.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล, และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.

มัทนา สังกะเพศ และชญานิกา ศรีวิชัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ตามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 227-238.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2566). ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5. https://tdri.or.th/2023/03/pm2-5-thailands-solutions/

อรุณ ศรีระยับ, อรุณ รักธรรม, เพ็ญศรี ฉิรินัง, และชาญ ธาระวาส. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 120-131.

Agus, A., & Selvaraj, R. (2020). The mediating role of employee commitment in the relationship between quality of work life and the intention to stay. Employee Relations: The International Journal, 42(6), 1231-1248.

Bagtasos, M. R. (2011). Quality of work life: A review of literature. DLSU Business & Economics Review, 20(2), 1-8.

Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers to work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546

Dhingra, M., & Dhingra, V. (2020). An empirical research on relationship between adequate and fair compensation and quality of work life. Journal of Statistics and Management systems, 23(2), 317-331.

Mercurio, Z. A. (2015). Affective commitment as a core essence of organizational commitment: An integrative literature review. Human resource development review, 14(4), 389-414.

Ruževičius, J. (2014). Quality of life and of working life: Conceptions and research. In 17th Toulon-Verona International Conference (pp. 28-29). Liverpool John Moores University.

Sinval, J., Sirgy, M. J., Lee, D. J., & Marôco, J. (2020). The quality of work life scale: validity evidence from Brazil and Portugal. Applied research in quality of life, 15(5), 1323-1351.

Steers, R.M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(3), 46-56.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it? Slone Management Review, 15, 11-21.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28