การสำรวจกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลบนสื่อสังคมออนไลน์ และการพัฒนาตราสินค้าและฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าวเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา
  • ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูณ์
  • ธัชกร วงษ์คำชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ชัยวิชญ์ ม่วงหมี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล , การพัฒนาตราสินค้าและฉลากสินค้า , สื่อสังคมออนไลน์ , เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลบนสื่อสังคมออนไลน์ และการพัฒนาตราสินค้าและฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์ข้าวเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อหรือเคยซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะผู้บริโภคที่ซื้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ไลน์ และอินตราแกรม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลแต่ละสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเภทเนื้อหาของไลน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นการนำเสนอเนื้อหาของไลน์ และน้อยที่สุด ประเภทเนื้อหาของเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาตราสินค้าและฉลากสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยตราสินค้ามีความสวยงามสร้างความน่าจดจำ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ตราสินค้ามีความโดดเด่นและสร้างการรับรู้มากขึ้น และน้อยที่สุด ฉลากสินค้ามีรายละเอียดครบถ้วนและมีความดึงดูดน่าสนใจ

References

เกศศิริ นวลใยสวรรค์, ทรงกลด พลพวก, วิมลกานต์ นิธิศิริวริศกุล, ฉัตรชัย ศรีมาลา, จรัญญา ไชยเสริฐ และสุเมธี เทียมสกุล. (2566). การตลาดดิจิทัลในยุคที่ท้าทาย บทบาทความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 193-207.

คณิต สุขรัตน์ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology, 9(1), 98-76.

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์. (2564). เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19. https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210518.html

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และรุ่งทิวา ชูทอง. (2565). การจัดการตลาดดิจิทัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทัพหลวง กะละแมลุงพร ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(3), 1-15.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชูทอง, และสุธาทิพย์ ทั่วจบ. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารแปรรูป กลุ่มวิสาหกิจข้าวเตาปูน จังหวัดราชบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 24-34.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชูทอง, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง และเอกศิริ นิยมศิลปะ. (2563). แนวทางพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 115-127.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). ความพึงพอใจของ GenX และ GenY ต่อการจัดการการตลาดดิจิทัลวิสาหกิจชุมชนข้าวพระคุณแม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 5(1), 30-45.

นุสรา ลาภภูวนารถ, ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และนรินทร์ สงข์รักษา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์โดยใช้การตลาดบนอินเทอร์เน็ต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(1), 128-137.

พีรยา ทรัพยสาร และพิทักษ ศิริวงศ์. (2563). การวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบกลยุทธการสื่อสารทางการตลาดบนสื่อออนไลน์ของผู้ประกอบการด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของร้านเลมอนฟาร์ม. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences, 7(2), 49-69.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). E-commerce ปี 64 คาดมูลค่าตลาดโต 30% กำลังซื้อและการแข่งขัน...ยังเป็นโจทย์หินของผู้ประกอบการ. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/E-Commerce-FB-14-10-21.aspx

สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (2565). เจาะลึก! เศรษฐกิจดิจิทัลไทย "อีคอมเมิร์ซ-ส่งอาหาร-ซื้อของสด" เทรนด์มาแรง. https://www.thaipbs.or.th/news/content/321349

สุรชัย ศรีนรจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเกษตร, 37(2), 177-185.

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2565). แนวทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 288-302.

Cochran, W.G. (1977) Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Nathwani, D. (2022). The new normal consumer: A study on online shopping behavior of consumers. SJCC Management Research Review, 12(1), 11-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29