การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอด้วยทุนทางวัฒนธรรมของวิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • นฤศร มังกรศิลา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นุจรี บุรีรัตน์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เกษม เขษมพุฒเรืองศรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การตลาดออนไลน์, ผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน, ทุนทางวัฒนธรรม, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการในปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดออนไลน์ในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนได้อย่างเหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ สำหรับวิสาหกิจชุมชน คือ การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แต่ละแพลตฟอร์ม เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ติกตอก และไลน์ จะช่วยให้วิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ซื้อ รวมถึงการปรับปรุงการสื่อสารและการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น และ (2) แนวทางในการปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ประกอบไปด้วย การสร้างกลยุทธ์สำคัญสองประการ คือ การสร้างภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์ และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในแง่ของการวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชนในยุคดิจิทัลได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์หลายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค อีกทั้งควรพัฒนาเนื้อหาที่ใช้สื่อประสม เช่น วิดีโอและกราฟิก เพื่อดึงดูดความสนใจ นอกจากนี้ ควรสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นการบอกต่อในสื่อออนไลน์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสื่อสารจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

References

โยธิน แสวงดี. (2559). ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง. https://ipsr.mahidol.ac.th/

จุฑามาศ แก้วพิจิตร อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี และฉัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ในการยกระดับสินค้าเชิงวัฒนธรรมให้เป็นแบรนด์ระดับโลก. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ธมกร แสงวงสว่าง และเสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจผ้าพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 154-167.

Abbott, W., Donaghey, J., Hare, J., & Hopkins, P. (2013). An Instagram is worth a thousand words: an industry panel and audience Q&A. Library Hi Tech News, 30(7), 1-6.

Abed, S. S. (2020). Social commerce adoption using TOE framework: An empirical investigation of Saudi Arabian SMEs. International Journal of Information Management, 53, 102118.

Basu, S. (2018). Information search in the internet markets: Experience versus search goods. Electronic Commerce Research and Applications, 30(2018), 25-37.

Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. G. Richardson (Ed.), Handbook of theory and research for the sociology of education (pp. 241-258). Greenwood.

Chaffey, D., & Ellis-Chadwick, F. (2019). Digital marketing: Strategy, implementation and practice (7th ed.). Pearson.

Chaffey, D., & Smith, P. R. (2022). Digital marketing excellence: planning, optimizing and integrating online marketing. Routledge.

Elkington, J. (1997). Cannibals with forks: The triple bottom line of 21st century business. Capstone.

Gao, Y., Liu, F., & Gao, L. (2023). Echo chamber effects on short video platforms. Scientific Reports, 13(1), 6282.

Hart, S. L. (1995). A natural-resource-based view of the firm. The Academy of Management Review, 20(4), 986-1014.

Hassaro, K., & Chailom, P. (2023). Motives of social media use for online marketing: A uses and gratification approach. International Journal of Computing and Digital Systems, 13(1), 415-425.

Kitchen, P. J., & Pelsmacker, T. (2004). The emergence of IMC: A theoretical perspective. Journal of Advertising Research, 44, 20-31.

Kizildag, M., Altin, M., Ozedmir, O., and Demirer, I. (2017). What do we know about social media firms’ financial outcomes so far?. Journal of Hospitality and Tourism Technology, 8(1), 39-54.

Kotler, P. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. John Wiley & Sons.

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. Wiley.

Lamont, M., & Lareau, A. (1988). Cultural capital: Allusions, gaps, and glissandos in recent theoretical developments. Sociological Theory, 6(2), 153-168.

Lemon, K. N., & Verhoef, P. C. (2016). Understanding customer experience throughout the customer journey. Journal of Marketing, 80(6), 69-96.

Moore, J. F. (1996). The death of competition: Leadership and strategy in the age of business ecosystems. Harper Business.

Osatuyi, B., & Qin, H. (2018). How vital is the role of affect on post-adoption behaviors? An examination of social commerce users. International Journal of Information Management. 40, 175-185.

Puerta, P., Laguna, L., Vidal, L., Ares, G., Fiszman, S., & Tarrega, A. (2020). Co-occurrence networks of Twitter content after manual or automatic processing. A case-study on “gluten-free”. Food Quality and Preference, 86, 103993.

Ryan, D. (2016). Understanding digital marketing: Marketing strategies for engaging the digital generation. Kogan Page.

Sachs, J. D. (2015). The age of sustainable development. Columbia University Press.

Swartz, D. L. (1997). Culture and power: The sociology of Pierre Bourdieu. University of Chicago Press.

Turban, E., Bolloju, N., & Liang, T. P. (2010, August). Social commerce: An e-commerce perspective. In Proceedings of the 12th International Conference on Electronic Commerce: Roadmap for the Future of Electronic Business (pp. 33-42). ICEC10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30