พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเฟซบุ๊กและไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และบริการของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ตลาดน้ำดอนหวาย หลังสถานการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน , การตัดสินใจซื้อ , ตลาดน้ำดอนหวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเฟซบุ๊กและไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สมาชิกแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กและไลน์ที่มาเยี่ยมชมตลาดน้ำดอนหวาย จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบไคว์สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20,001 บาท โดยมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเฟซบุ๊กของชุมชน โดยมีความถี่ในการเข้าใช้บริการ 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการเวลา 08.01-18.00 น. ระยะเวลาในการเข้าใช้บริการ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ผ่านอุปกรณ์ ที่ใช้บริการ ได้แก่ สมาร์ตโฟน วัตถุประสงค์ในการเข้าใช้บริการ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการขายการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนในการใช้บริการแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กและไลน์ของตลาดน้ำดอนหวาย เพื่อการกดไลค์เนื้อหาที่นำเสนอ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเฟซบุ๊กและไลน์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา และศศินิภา ศรีกัลยานิวาท. (2562). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสมอัลมอนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 38-50.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, (2565). ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียน นนทบุรี ในสถานะการณ์โควิค 19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(2). 33-53.

แฟนเพจเฟซบุ๊กตลาดน้ำดอนหวาย. (2565). ตลาดน้ำดอนหวาย. https://th-th.facebook.com/people/ตลาดน้ำดอนหวาย/100063689976700/

สุธินี ธีรานุตร์ และชวลีย์ ณ กลาง. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชั่น X และเจเนอเรชั่น Y. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 7(1), 1-14.

สุภาพร วิชัยดิษฐ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 166-179.

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2554). ทิศทางเทรนด์ผู้บริโภคปี 2011 ไปทางไหนดี. http://wwwncn.in.th/main/scoop_detail.php?media_id=MTQy.

Checkfacebook. (2011). จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กในปีพ.ศ.2554. http://checkfacebook.com/

SCB Thailand. (2558). ตอกย้ำความเป็นอันดับ1โซเชี่ยลการเงิน ยอดLIKEทะยานสู่ 2.5ล้าน ครองใจลูกค้ายุคดิจิตอล. http://www.posttoday.com/ economy/finance/347791/2016/10/26

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Prentice Hall.

Zocial Rank. (2011). จำนวนแฟนเพจเฟซบุ๊กในปีพ.ศ.2554. http://zocialrank.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28