ภาวะผู้นำและพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ผกา ไหวศรี โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตเพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จรีพร ศรีทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, พฤติกรรมการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาในกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง 4) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเพศ สถานภาพ ตำแหน่งงาน และอายุงาน ส่วนผู้ที่มีเพศ ประเภทบุคลากร และรายได้ต่อเดือนต่างกัน จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน และผู้ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน จะมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานแตกต่างกัน นอกจากนี้ ภาวะผู้นำด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีม เช่นเดียวกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านการรับผิดชอบและให้ความร่วมมือ และด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมเช่นกัน

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2567). รายงานประจำปี 2567. https://cpd.go.th/images2/2025/Annual_report_/Annual_report_2024.pdf

กองการเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2567). ระบบสารสนเทศการรายงานผลข้อมูลบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์. https://personnel.office.cpd.go.th/

ณัฐวุฒิ หาญสุวัฒน์. (2566, กุมภาพันธ์ 10). รู้จักกับ 5 กลุ่มพฤติกรรม Organizational Citizenship Behavior. Brightside People. https://brightsidepeople.com/รู้จักกับ-5-กลุ่มพฤติกรร/

ดวงนภา ไหมพรม, วิรัสพัชร วงษ์วัฒน์เกษม และสุวัฒนพงษ์ ร่มศรี (2565). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 619–632.

ทัศนี ไชยจิตร, เจริญวิทย์ สมพงษ์ธรรม และชารี มณีศรี. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนในอำเภอน้ำยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 103–119.

นุชจริน เสริมสวัสดิ์ และ อภิชาติ พานสุวรรณ. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสำนักงานอัยการในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 10(1), 175–190.

ปรัชญาณี ศรีจอมขวัญ ลัสดายาวิละ และรัตนา สิทธิอ่วม. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนในเขตภาคเหนือ. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 8(10), 141-152.

ปัญจรีย์ ศรีมุกข์ จุฑามุาศ มุวลทอง และจุรีีวรีรีณ จันพลา. (2564). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรสำนักสรรพากรพื้นที่แห่งหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(1), 65-78.

ภูริวัชร์ ภู่ทองคำ. (2566). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของกลุ่มคนเจนเนอร์เรชั่นวาย. วารสารการเมืองท้องถิ่นและนวัตกรรมการศึกษา, 2(2), 1-10.

ภูริส ภูมิประเทศ, ตรีชฎา สุขเกษม, อภิชาติ แสงอัมพร และภทพร ศรีโกตะเพขร. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 124-144.

วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ และ ฉวิวรรณ ปูรานิธี. (2567). วัฒนธรรมและประสิทธิผลขององค์การที่ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานมหาวิทยาลัยรัฐในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(2), 150-169.

ศรัญญา ภูอาบทอง และ สมใจ ภูมิพันธุ์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(4), 98-109.

สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข. (2566, มิถุนายน 20). ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อความยั่งยืน. ThaiPublica. https://thaipublica.org/2023/06/nida-sustainable-move38/

สุกัญญา มีสมบัติ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2557). ภาวะผู้ตามและประสิทธิภาพทีมงานที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/2644

Adams, J. S. (1965). Inequity in social exchange. In L. Berkowitz (Ed.), Advances in experimental social psychology (Vol. 2, pp. 267–299). Academic Press.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice Hall.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Sage Publications.

Eagly, A. H. (1987). Sex differences in social behavior: A social-role interpretation. Erlbaum.

Fiedler, F. E. (1967). A theory of leadership effectiveness. McGraw-Hill.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice Hall.

Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behavior: The good soldier syndrome. Lexington Books/D. C. Heath and Com.

Parker, G. M. (1990). Team players and teamwork: The new competitive business strategy. Jossey-Bass.

Tuckman, B. W., & Jensen, M. A. C. (1977). Stages of small-group development revisited. Group & Organization Studies, 2(4), 419–427. https://doi.org/10.1177/105960117700200404

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-29

How to Cite

ไหวศรี พ. ., & ศรีทอง จ. . (2025). ภาวะผู้นำและพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนกลาง. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 4(2), 45–62. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4815