บทบาทมัสยิดต่อการพัฒนาชุมชนมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทมัสยิดต่อการพัฒนาชุมชนมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย อิม่าม คอเต็บ บิลาล และตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด จำนวนทั้งหมด 25 ท่าน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดจากพื้นที่จังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทมัสยิดต่อการพัฒนาชุมชนมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี คือ 1) บทบาทด้านการช่วยเหลือผู้ยากไร้ 2) บทบาทด้านการรักษาเอกลักษณ์มลายูและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม 3) บทบาทด้านการศึกษาอิสลามสู่สันติ และ 4) บทบาทด้านความสามัคคี
Article Details
References
เจ๊ะมะมูหามัดสัน เจ๊ะอูมา. (2545). บทบาทของอิหม่ามในการพัฒนาท้องถิ่น :กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ. (2563). การบริหารมัสยิดภายใต้ความท้าทายด้วยหลักการอิสลาม กรณีศึกษามัสยิดเร๊าะหม๊ะบ้านพ้อแดง หมู่ที่ 2 ตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. (2565). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมความหมายภาษาไทย. ซาอุดีอารเบีย: ศูนย์กษัตริย์ฟะฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน อัลมะดีนะห์ อัลมูเนาวาเราะห์.
วินัย สะมะอุน. (2542). คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
อับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ และอะห์มัด ยี่สุนทรง. (2018). ภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อิบรอฮิม ตาเยะ. (2555). บทบาทด้านศาสนา การศึกษาและการบริหารของอิหม่ามในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.