จริยธรรมในการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน
1. ผู้เขียนจะต้องรับรองว่า บทความต้นฉบับนี้ไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และระหว่างรอผลการพิจารณารับลงตีพิมพ์จากวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ข้าพเจ้าจะไม่นำส่งบทความต้นฉบับนี้ไปรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ อีก หากพบว่ามีการส่งไปรับการพิจารณาที่อื่นด้วย ข้าพเจ้ายินดีให้ทางวารสารฯ ยกเลิกการพิจารณาโดยทันที
2. ผู้เขียนจะต้องเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนด หากเตรียมไม่ถูกต้อง ทางวารสารฯ อาจจะไม่รับพิจารณาเข้ากระบวนการประเมินคุณภาพ
3. ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ปรากฎในบทความนี้ (กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งที่ปรากฎในบทความ ให้ผู้เขียนและผู้เขียนร่วมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว)
4. ผู้เขียนจะต้องยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์ในการเลือกสรรหาผู้กลั่นกรองโดยอิสระเพื่อพิจารณาต้นฉบับที่ส่งมา และยินยอมให้กองบรรณาธิการแก้ไขบทความได้ตามที่เห็นสมควร
5. ผู้เขียนต้องปรับแก้ตามข้อเสนอแนะที่ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นควรให้ปรับแก้บทความ และจะปรับแก้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้แก้ไข หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าว ทางวารสารจะปฏิเสธการลงตีพิมพ์ทันที
6. หากบทความผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อย และผู้เขียนขอยกเลิกการลงตีพิมพ์ในภายหลัง
ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิตามจริง
7. ข้าพเจ้าได้อ่านข้อกำหนดของวารสารครบทุกข้อแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงทุกประการ
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
2. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้เขียนในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน
3. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชนในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
4. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียน
5. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลักพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง
4. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมินเป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่นๆผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
5. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้