ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อัมรัน มะเซ็ง
มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา
อับดุลรอแม สุหลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศาสนศึกษา อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก 3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนสาระอัลอัคลากโดยใช้ปันตุน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.29/83.92 ซึ่งมีค่าตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.21, S.D. = 0.11)


 

Article Details

How to Cite
มะเซ็ง อ. ., เฮงยามา ม. ., & สุหลง อ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (2022). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 81–90. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/1059
บท
บทความวิจัย

References

________. (2555). หลักสูตรอิสลามศึกษาพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

นาซูฮา เจ๊ะมะ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษามลายูเรื่องมารยาทที่ดีในอิสลาม โดยใช้ปันตุน (กลอน) สำหรับนักเรียนอิสลามตอนต้นชั้นปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

นูฮา มาแนง. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สาระภาษามลายู เรื่องการอ่านสรุปความเรื่องสั้น โดยใช้เทคนิคหมวกการคิด 6 ใบสำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนปลายปีที่ 2 โรงเรียนสามารถดีวิทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

พัทธดนย์ มหาใยธี และ ศิริพงธ์ เพียศิริ. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก.บทความวิจัยคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ 2542. กรุงเทพฯ : นามมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

สุรีรัตน์ พะจุไทย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสอบ 7E ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สุวิทย์ มูลคํา. (2547). กลยุทธิ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ภาพการพิมพ์.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). การประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. (2552). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

ฮาซัน และนิตันหยง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้อัลอัคลากโดยใช้หนังสือการ์ตูน เรื่องความเมตตาและความกตัญญูกตเวที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.