ผลการใช้เครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือการประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์ในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์ (Google Classroom, Edpuzzle and Kahoot) 2) แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแบบเลือกตอบ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การทดสอบทีและคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 2 สาขาวิชา หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนพัฒนาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล. (2560). การประเมินความก้าวหน้าการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(ฉบับพิเศษ), 104-116.
นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วีดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 211-227.
น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี. (2561). การศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Kahoot ในการวัดประเมินผลระหว่างเรียน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 116-127.
นิธิมา สุภารี. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2,3 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(2), 115-123.
พรรณี อุ่นละม้าย และ เดช บุญประจักษ์. (2562). การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้โปรแกรม Kahoot สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 14(1), 176-191.
พร้อมเพื่อน จันทร์นวล และ นิภาพร เฉลิมนิรันดร. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม Kahoot เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วรรณคดีไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 92-100.
พิรภพ จันทร์แสนตอ และ สายชล จินโจ. (2556). สภาพปัญหาการใช้ไอซีทีในการเรียนรู้ด้วยตนเองและการส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(2), 47-59.
ไพรัชนพ วิริยวรกุล และ ดวงกมล โพธิ์นาค. (2557). Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล.วารสารวิจัย มสด, 7(3), 103-111.
วิชัย พัวรุ่งโรจน์ ภัทรพงศ์ พงศ์ภัทรกานต์ และ สุชาดา พรหมโครต. (2560). แนวโน้มวิธีการเรียนการสอนยุคใหม่ด้วยเครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลักษณ์, 12(3), 45-68.
สุดาภัทร จันทร์ประเสริฐ ศิริรัตน์ สัยวุฒิ พรเทพ แก้วเชื้อ ศิริยา แตงอ่อน และ วรรณวิมล บุญญพงษ์. (2561).นวัตกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยแบบใหม่ในยุค 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10, 27-28 มีนาคม 2561. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สุมนา สุขพันธ์. (2561). การจัดการเทคนิคการสอนด้วยนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์โดย Google Classroom สู่ไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(2), 152-162.
ETS:Education Technology Development and Service. (มปป). คู่มือการใช้งาน EDPUZZLE [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562, จาก : http://modps62.lib.kmutt.ac.th/files/edpuzzlemanual.pdf
Faber, J. M., Luyten, H. & Visscher, A. J. (2017). The Effects of a Digital Formative Assessment Tool on Mathematics Achievement and Student Motivation: Results of a Randomized Experiment, Computer & Education, 106, 83-96.