การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลระแงะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.44 / 82.57 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการสอนแบบเรียนเรียนปนเล่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.74, S.D. = 0.44)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ความสำคัญของการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกศตะวัน เจริญผิว. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยวิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชาญชัย ศรีไสยเพชร. (2525). ทักษะและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ : พิทักษ์อักษร.
เต็มสิริ เนาวรังสี (2544). ครูปฐมวัยกับศิลปะเด็ก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิลันญา วงค์บุญ. (2550). การศึกษาคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ฤชามน ชนาเมธดิสกร (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา
วันดี นิลพิมาย. (2550) การเปรียบเทียบความสามารถในการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และแนวตั้งไม่เกิน 20 และความพึงพอใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนแบบเรียนปนเล่น กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงทพฯ : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York : McGraw-Hill.