การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Google Site เรื่อง ประวัติสาวก-สาวิกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้เทคโนโลยีก่อนและหลังเรียนโดยชุดการจัดการเรียนรู้ด้วย Google Site เรื่อง ประวัติสาวก-สาวิกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการจัดการเรียนรู้ด้วย Google Site เรื่อง ประวัติสาวก-สาวิกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 39 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Google Site หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Google Site เรื่อง ประวัติสาวก-สาวิกา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). เครื่องมือวัดและประเมินความสามารถและทักษะตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, จาก : https://online.anyflip.com/dwnyn/nxzh/mobile/index.Html.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (2560 - 2564). กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
โพยม จันทร์น้อย. (2560). การศึกษา 4.0. MGR Online [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, จาก : http://www.kroobannok.com/8149.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.