สภาพการดำเนินงานตามหลักจริยธรรมอิสลามของโรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เสรี พวงมณี
อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา

บทคัดย่อ

บริหารการศึกษาและการจัดการการศึกษาอิสลามเพื่อให้บรรลุความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้าจำเป็นจะต้องนำเอาหลักจริยธรรมอิสลามมาใช้ในการดำเนินงานของสถานศึกษา บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานตามหลักจริยธรรมอิสลามของโรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 25 คน เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้าช่วงชั้น และหัวหน้าฝ่ายตัรบิยะฮ์ (ฝ่ายส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม) ของโรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้โรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจัดรวบรวมข้อมูลตามประเด็นการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์เพื่อแยกเป็นประเด็นหลักและประเด็นย่อย จากนั้นได้ทำการสังเคราะห์เป็นแผนภาพเพื่ออธิบายให้เห็นถึงความเชื่อมโยงข้อมูลในภาพรวมที่ได้จากการวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลสภาพการดำเนินงานตามหลักจริยธรรมอิสลามของโรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้ใช้วิธีพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร มีสภาพการดำเนินงานในบรรยากาศอิสลามที่มุ่งเน้นวิถีอิสลามเป็นฐานในการจัดการ (Islamic Based Management) หล่อหลอมผู้บริหาร ครู พนักงานและบุคลากรของโรงเรียนด้วยการกระตุ้น (ตัรฆีบ) ให้เห็นคุณค่าของงานด้วยการมุ่งหวังความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ หวังในผลบุญ
และความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า มีการเสริมกำลังใจเชิงบวกด้วยการมอบฮะดิยะฮฺ (รางวัล) มีการจัดวางโครงสร้างการบริหาร กำหนดนโยบายทางด้านศาสนาและนโยบายทั่วไปอย่างชัดเจน มีเป้าหมายเดียวกันคือการสร้างประชาชาติ (อุมมะฮฺ) ที่เลอเลิศ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาบุคลากร การสอนงาน การกระจายงาน และการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง มีระบบเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์และงบประมาณต่างๆ ระบบตรวจสอบ สรุปงานและประเมินผลงานที่ชัดเจน ผ่านกิจกรรมและวิธีปฏิบัติอันเด่นชัดที่ผลักดันให้ทุกคนเห็นคุณค่าในอัตลักษณ์แห่งการเป็นโรงเรียนวิถีอิสลาม

Article Details

How to Cite
พวงมณี เ. ., & เฮ็งปิยา อ. . (2023). สภาพการดำเนินงานตามหลักจริยธรรมอิสลามของโรงเรียนอิกเราะสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2(2), 18–31. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/1566
บท
บทความวิจัย

References

กวี เจ๊ะหมัด และ นพรัตน์ ชัยเรือง. (2558). พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 22-33.

กิตติภูมิ สมศรี. (2560). แนวทางการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัด สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จักรพันธุ์ จันทร์เจริญ. (2561). การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูของอาจารย์ในคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 27-42.

จารุณี เก้าเอี้ยน. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 27-40.

จรรยา โต๊ะตาเหยะ. (2558). คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการริหารการศึกษา. มหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซารีล่า ลาหมีด และคณะ. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. (น. 258-259), 23 มิถุนายน 2559. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เทวพร ขำเมธา. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2559). การจัดการศึกษาในอิสลาม แนวคิดสู่การปฏิบัติ. ปัตตานี: โรงพิมพ์มิตรภาพ.

ปิลันธนา แป้นปลื้ม และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของความยุติธรรมในองค์การต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านการรับรู้การสนับสนุนนจากองค์การ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(1), 58-59.

พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรวัลย์ เหล็งสุดใจ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารโรงเรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 96.

ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. (2560). การนำการปรึกษาหารือมาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ: การทบทวนสำหรับแนวทางในเชิงปฏิบัติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(3), 19-37.

มีรฟัต มะยูโซ๊ะ. (2551). แบบอย่างทางจริยธรรมของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส จากทัศนะของผู้บริหารและครูอิสลามศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา. มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

มูนีเราะห์ สาและอาแร. (2561). การบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการทีดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก : https://cdc.parliament.go.th/.

สุธันยชนก ทรัพย์ย้อย. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

อาคม มากมีทรัพย์. (2556). จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิสมาแอล เจะเล็ง. (2556). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ไอยุป เจริญสุข. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักราชวสดีธรรมกับการบริหารตามหลักอิสลามของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในกรุงเทพมหานครและนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Abdul Rahim Chandio, Iqbal Ameen Brohi, and Ghulam Nabi Gadhi. (2019). Administrative Ethics with Special Reference to Islam. Global Scientific Journal, 7(7), 913-923.

Manar Mansour Ahmad Mansour. (2015). The degree to which a school principal practices ethical leadership and its impact on climate of organizational structure from the point of view of primary school teachers in Taif Province. Majallat buhuth altarbiat alnaweiat - Jamieat almansura, 12(39). 128-139.

Melala, I. (2019). The impact of Islamic work ethics on quality : Case study on Sonaric Company. Economic Researcher Review (CHEEC), 7(11). 182-195.

Misbah Mansur Musaa Mutawie. (2016). Aldaabit al'akhlaqiu fi aleamal al'iidarii min manzur 'iislami. Yearbook of the College of Islamic and Arabic Studies for Girls in Zagazig, 2016(6), 1999-2010.

Mofareh Saeed Alkadem, Abdulaziz Saeed Alqahtani. (2016). Educational Management in the Light of Islamic Standards. British Journal of Education, Society & Behavioral Science, 14(3), 4-5.

Mohamad Johdi Salleh, Nazifah Alwani Mohamad. (2012). Islamic Principle of Administration: Implication on Practices in Organization. Technology, Science, Social Sciences and Humanities International Conference. (p. 1-12), 14-15 November 2012. Langkawi : Universiti Teknologi MARA Kedah.

Ogunbado, A. F. & Al-Otaibi, A. M. (2013). Is Quality Management An Islamic Value?. IOSR Journal of Business and Management, 8(3), 9-10.

Putu Evvy, R. S., Achmad, S., Armanu & Solimun. (2018). Ikhlas behavior as the influence moderator of competence and climate of school organization on performance of teachers. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic Sciences (RJOAS), 5(77), 65-73.

Rokman, W., & Hassan, A. (2012). The effect of Islamic work ethic on organisational justice. African Journal of Business Ethics, 6(1), 25-29.

Shahrul Nizam bin Salahudin, Siti Sarah binti Baharuddin, Muhammad Safizal, Abdullah, Abdullah Osman. (2016). The Effect of Islamic Ethics on Organizational Commitment. Procedia Economics and Finance, 35(2016), 582-590.

Souad, B. (2020). The role of Moral Values in building character of administration leader from an Islamic Perspective. Jakarta: Majallah Dirasaat Iqtisodiyah.