การพัฒนากิจกรรมการเสริมแรงทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเสริมแรงทางบวกเพื่อพัฒนาความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 8 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นกิจกรรมการเสริมแรงทางบวก และแบบประเมินพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่งก่อน-หลังการดำเนินกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่งเฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมการเสริมแรงทางบวกมีค่าสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมทดลองใช้กิจกรรมการเสริมแรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value = 0.048) จึงอาจสรุปได้ว่ากิจกรรมการเสริมแรงทางบวกพัฒนาความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้
Article Details
References
จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย. (2556). การดูแลเด็กที่มีความบกพร่อง. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.
ดวงชนก ลันดา และ จรูญเกียรติ กุลสอน. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโดยครอบครัวและชุมชน ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(ฉบับพิเศษ), 13-24.
ธัญวดี นาคมิตร บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์ และ พิสมัย วัฒนสิทธิ์. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัยเรียนโรคสมาธิสั้นตามการรับรู้ของมารดา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 135-149.
ปองพล ประโมทยกุล และ สุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2563). การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติกโดยใช้การเสริมแรงแบบเบี้ยอรรถกร. Lawarath Social E-Journal, 2(1), 78-86.
ฐานิตา ฦาชา และ สุวรี ศิวะแพทย์. (2554). ผลของการใช้เบี้ยอรรถกรควบคู่การเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัย มข., 11(2), 123-130.
พันยศ เงินวัฒนะ.(2560). การพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบในชันเรียนของเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการเสริมแรงทางบวก. นครนายก: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ภาควิชาการศึกษาพิเศษ. (2562). หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ (4 ปี) [ออนไลน์]. สืบค้น 6 กันยายน 2565, จาก www.qa.cmru.ac.th/web/curriculum/2562/BEduSpecialEducation(4)62.pdf.
ยุวดี เอี๊ยวเจริญ. (2561). การใช้เบี้ยอรรถกรในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 2063-2074.
Angeloa, M. (2002). Coping with Autism: Stress on Families. Cited 2022 January 6. From http://www.child-autismparentcafe.com/stress-on-families.html.
Daniel, K. (2013). Thinking Fast and Slow. NY: Farrar, Straus and Giroux.
Martha, L. & Lolagul, R. (2021). A Modern-day Early Childhood Teacher Education Initiative on Tajikistan’s Historic Silk Road: Dushanbe to The Roof of The World. Journal of Early Childhood Teacher Education, 42(1), 76-92.
Matthew, B.M., Michael, A.H. & Johnny, S. (2014). Qualitative Data Analysis. California: SAGE Publications, Inc.
Rebecca, F., Lucinda, P. & Sam, P. (2017). The Development of Behavior Problems Among Disabled and Non-disabled Children in England. Journal of Applied Developmental Psychology, 52(2017), 46-58.
Skinner, B.F. (1989). The Origins of Cognitive Thought. American Psychologist, 44(1), 13-18.