ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตัวแปร เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 169 ฉบับ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ผ่านทุกข้อ หาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีอิสระและค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51, S.D.=0.46) 2) ผลการเปรียบเทียบผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกขนาดของสถานศึกษา ภาพรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารควรพัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ครูค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ผู้บริหารควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน และผู้บริหารควรมีการวัดประเมินผลและการวิจัยโดยส่งเสริมให้ครูเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งภายในและนอกสถานศึกษา
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 7. (2563). รายงานผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการ 7. ยะลา: สำนักงานศึกษาธิการภาค 7.
ข้าวทิพย์ ทีสุกะ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชินีเพ็ญ ศรีชัย.(เมษายน 2561) แนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 24(ฉบับพิเศษ), 1-9.
บาลกีส กาซา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปฐม ปริปุนณังกูร. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระวุฒิชัย สุขสวัสดิ์. (มิถุนายน 2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 25-37.
มะไซดี อับดุลกอเดร์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สิริญาพร มุกดา. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สีตีปาตีเม๊าะ ลาเต๊ะ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวัทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 9(3), 542-554.
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์.
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2547). เอกสารประกอบการสัมมนาประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์ ส.ประจักษ์ นครปฐม.
อับดุลรอห์มัน มะมิง. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วารสารอัลฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(22), 291-304.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mcilvan, L. O. (1986). The time trap. New York: Amacom.