ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอบรมอาชีพกับวิทยาลัยชุมชนสตูล

Main Article Content

กิตติยา ฤทธิภักดี
อุใบ หมัดหมุด
นิตยา แกสมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอบรมอาชีพกับวิทยาลัยชุมชนสตูล 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการฝึกอบรมอาชีพกับวิทยาลัยชุมชนสตูล กลุ่มประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ จำนวน 421 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมารตฐาน (s) ผลการศึกษา พบว่า1. ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 337 คน คิดเป็นร้อยละ 80.05 มีอายุระหว่าง 46 - 55 ปี จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 24.46 การศึกษาเป็นระดับประถมศึกษา จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 32.77 มีอาชีพเป็นเกษตรกร จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 40.62 และมีรายได้ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 34.91 2. ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับวิทยาลัยชุมชนสตูล อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความต้องการฝึกอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กลุ่มเพื่อนและชุมชนรอบข้างมีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการฝึกอบรม 3. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการให้บริการของวิทยาลัยชุมชนสตูลโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) วิทยากรและวิธีการถ่ายทอดความรู้ 2) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และ 3) การให้บริการของเจ้าหน้าที่ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ฤทธิภักดี ก. ., หมัดหมุด อ. ., & แกสมาน น. . . . (2022). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอบรมอาชีพกับวิทยาลัยชุมชนสตูล . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 62–71. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/223
บท
บทความวิจัย

References

กวินทร์ พิมจันนา. (2560). ปัจจัยสำคัญปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจสมัครเข้าอบรมหลักสูตรพิเศษ ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรณีศึกษาองค์การบริหาร ส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัด มหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 379-392.

จิราภรณ์ จีนตุ้ม. (2558). ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมฝึกในหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 4 ราชบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 115-121.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียานุช ดีพรมกุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อการตัดสินใจเข้าฝึกอาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เรืองชัย ทรัพย์นิรันด์. (2559). ประสิทธิผลของการฝึกอาชีพระยะสั้น สำหรับประชาชนของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 26-37.

วิทยาลัยชุมชนสตูล. (2563). รายงานโครงการ/กิจกรรม วิทยาลัยชุมชนสตูล ประจำเดือน ธันวาคม 2563. สตูล : วิทยาลัยชุมชนสตูล.

วิทยาลัยชุมชนสตูล. (2564). รายงานผลการจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีพ/บริการทางวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สตูล : วิทยาลัยชุมชนสตูล.

ศิวกร เลิศพิบูลย์กิจ. (2555). พฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลต่อความพึงพอใจในการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน ของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2561). สรุปรายงานผลการจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีพ/บริการทางวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.