องค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและการสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟ ของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย

Main Article Content

อับดุลย์ลาเต๊ะ สาและ
อับดุลรอนิง สือแต

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและการสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทยผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บข้อมูลเป็นตัวแทนจากองค์กรมุสลิม จำนวน 3 แห่ง จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ มูลนิธิสันติชน, มูลนิธิรักมนุษยชาติ และมูลนิธิเพื่อการศึกษาและ พัฒนามุสลิมอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยอิงตามกรอบการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิจัยพบว่า องค์กรมุสลิมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีส่วนช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟ อย่างหลากหลายแตกต่างกันไปตามพันธกิจขององค์กร 1) มูลนิธิสันติชนเน้น ให้คำปรึกษาในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นกันเอง รับฟังปัญหาของมุอัลลัฟ ให้ความรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต รวมทั้ง สนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับอิสลาม 2) มูลนิธิรักมนุษยชาติ เน้นให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมด้านปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่มและอื่น ๆ เสริมสร้างการเรียนรู้อัตลักษณ์มุสลิม โดยการจัดการเรียนการสอน การฝึกฝน การอบรมและการปฏิบัติเป็นประจำในชีวิตประจำวัน การให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และ 3) มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน เน้นให้การศึกษาและความรู้ในการสร้างอัตลักษณ์มุสลิม มีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคและประเทศชาติ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือของพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอีสานของประเทศไทยและระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้มีคุณภาพผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงการสอนศาสนาแก่มุอัลลัฟ ค่ายอบรมภาคฤดูร้อนแก่เยาวชนมุสลิม เป็นต้น

Article Details

How to Cite
สาและ อ., & สือแต อ. . (2022). องค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและการสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟ ของภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/224
บท
บทความวิจัย

References

จีรศักดิ์ โสะสัน. (2550). กระบวนการสร้างชุมชนมุสลิมในพหุสังคมอีสาน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จีรศักดิ์ โสะสัน เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ และมณีมัย ทองอยู่. (2551).นูรุ้ลอีมานและกระบวนการสร้างชุมชนมุสลิมในพหุสังคมอีสาน.วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2551.

ชมรมผู้บริหารมัสยิดเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร.(2555).คู่มือมุอัลลัฟ (มุสลิมใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 18.กรุงเทพฯ : ชมรมผู้บริหารมัสยิดเขตหนองจอก.

ไทยมุสลิม.(2562). ทำความรู้จัก มัสยิดอัลมุบาร๊อก มัสยิดประจำจังหวัดอุดรธานี.สืบค้นวันที่ 6 เดือนธันวาคม ปี 2564. http://www.thaimuslim.com/

ธวัช นุ้ยผอม และคณะ.(2559).กระบวนการพัฒนาระบบการจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูลและจังหวัดพัทลุง. รายงานวิจัยสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มนูญ โต๊ะอาจ.(2555).การเรียนรู้และการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมของมุอัลลัฟในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของไทย.ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ยูซุฟ ก็อรฺฎอวี.(2554).หะลาลและหะรอมในอิสลาม.บรรจง บินกาซัน แปล.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ท

วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ .(2553).การดำรงอัตลักษณ์มุสลิมกับการสร้างชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิขาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ และฉันทัส ทองช่วย. (2553).กระบวนการดำรงอัตลักษณ์มุสลิมกับการสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านเหนือ.วารสารอัล-นูร (AL-NUR), 5(9), 55-66.

สมาคม นักเรียนเก่าอาหรับ.(1419). พระมหาคัมภีร์ อัลกุรอาน พร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย.ซาอุดีอารเบีย : ศูนย์กษัตริย์ฟะฮัด เพื่อการพิมพ์อัล-กุร อาน แห่งนครมะดีนะฮ์

สำราญ ผลดี. (2560).มุสลิมบางกอกน้อย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวิถีวัฒนธรรมอิสลามในเมืองหลวง. งานวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2560.

อลิสา หะสาเมาะ.(2552). อัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมในตำบลรือเสาะออก: ภาคใต้ของประเทศไทย.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552.

อับดุลสุโก ดินอะ. (2558). วิถีมุสลิม: อิสลามกับวัฒนธรรมมลายู.สืบค้นวันที่ 6 เดือนธันวาคม ปี 2564.จาก https://prachatai.com/journal/2015/03/58625

ฮาฟิส สาและ.(2550).องค์กรมุสลิมข้ามชาติกับความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษากรณีองค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติแห่งซาอุดีอาระเบียในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

’Ibn Kathir.1999-1420. Tafsir ’Ibn Kathir(تفسير إبن كثير).Riyad:Dar Tayyibah.

Yusuf al-Qaradawiy. (2006). Fig al-Zakāh (فقه الزكاة). al-Qāhirah : Maktabah Whabāh.