ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่องการละหมาด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาด 3) เปรียบเทียบความคงทนในการจำของนักเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาด 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านกอตอตือร๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบทดสอบวัดความคงทนในการจำ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.38 /81.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความคงทนในการจำโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่อง การละหมาด หลังการสอน 2 สัปดาห์ กับค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอนแบบอุปนัยบนแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา เรื่องการละหมาด อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, SD = 0.76)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2556), การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนบูรณ์ อินอุ่นโชติ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสอนแบบอุปนัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2546). “IQ, EQ, MQ : เก่ง ดี มีสุข”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2(2), 29-36.
เบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. (2546). หลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
เบญจพร สว่างศรี. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับกระบวนกลุ่มสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กองทุนส่งเสริมงานวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
มูฮัมมัดอามีน เจะมะ. (17 ธันวาคม 2564). ครูอิสลามศึกษาแบบเข้มโรงเรียนบ้านกอตอตือร๊ะ. สัมภาษณ์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบ Backward Design. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: กากะเยียสานักพิมพ์.
วิโรจน์ ดุเหว่า. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องการคูณและหารเศษส่วน โดยใช้วิธีการแบบอุปนัย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สายแก้ว เรืองทัพ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบอุปนัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Abu Da'ud, Sulaiman bin al- Ash al – Sijistany. (1997). Sunan Abi Da'ud. Berut : Dar Ibn Hazmi.
Adams, Jack A. (1967). Human Memory. New York : McGrew-Hill Book Company.
Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington.