การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL

Main Article Content

กิตติพิชญ์ เลิศสงคราม
สมใจ ภูครองทุ่ง
ปรัศนีย์ วิจารย์ขันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้เรียนรู้ในรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนในรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL มีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยจำนวน 41 คน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังสามหมอวิทยาคาร ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้อยู่ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL จำนวน 8 แผน แผนละ 60 นาที และแบบทดสอบในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์หาข้อมูลจะมี ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Paired Sample t-Test พบว่า 1) นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาคณิตศาสตร์ได้หลังจากจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 74.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เลิศสงคราม ก., ภูครองทุ่ง ส., & วิจารย์ขันธ์ ป. (2024). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(1), 22–36. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/2670
บท
บทความวิจัย

References

คนึงนิจ พลเสน. (2560). การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนอนุบาลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 171-186.

ทวุธ วงค์วงค์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL Plus บูรณาการการคิดเชิงอภิปัญญา: มิติใหม่ของการเรียนรู้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์. วารสารนิสิตวัง, 24(1), 42-54.

ทิตติยา มั่นดี. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์. วารสารปัญญา, 28(2), 173-182.

ธนพล นามลัย นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ และมนชยา เจียงประดิษฐ์. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE). 6(1), 120-134.

นภาพร สว่างอารมณ์ ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี และสุนิสา สุมิรัตนะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 15(2), 1-13.

เบญจลักษณ์ ภูสามารถ ณัฏฐชัย จันทชุม และธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 146-153.

พรชนก จันพลโท กุสุมา ใจสบาย และกิตติศักดิ์ ใจอ่อน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 38-51.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วสันต์ แสนชมพู อาทิตย์ อาจหาญ และสุรวาท ทองบ. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 121-130.

สราญจิต อ้นพา และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโกตาบารู จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 5. (น.1058-1065), 6-7 กุมภาพันธ์ 2563. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.

สิรินดา ครุธคำ และฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 99-113.

อุไนซ๊ะห์ กะสะหะ และสาธินี วารีศรี. (2565). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ด้วยโปรแกรม Power point ร่วมด้วยกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning Theory: ELT) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนราธิวาส. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ครั้งที่ 7 ประจําปี 2565. (น.946-959), 10-11 มีนาคม 2565. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Ogle, D.M. (1996). K-W-L: A Teaching Model That Develops Active Reading of Expository Text. The Reading Teacher, 12, 564-570.