การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้การเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านคำชะอี จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.21/76.23 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ, (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจณาพร จันทร์ฤทธิ์. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา หน่วยการเรียนรู้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(2), 15-27.
กัญญาภรณ์ สีนินทิน. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุรินทร์ ทองแม้น. (2535). การศึกษาความสามารถแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยสนเทศ, 12(139), 14-16.
ปิยะดา ลื่นกลาง พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ และ วรรณพล พิมพะสาลี. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 2(2), 145-153.
สํานักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ประกาศผลสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุบงกช ข่าขันมะล โกวิท วัชรินทรางกูร และ กระพันศรีงาน. (2559). ผลการใช้แผนและการจัดการเรียนรู้เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 109-122.
สุรีพร ศิรินามมนตรี. (2552). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 131-139.
วัลยา เลื่อนกฐิน. (2554). การใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ “TAI (Team Assisted Individualization)” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลักษณะทางพันธุกรรมนอกกฎเมนเดล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานวิจัย: โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย.
Kemaragul, K., Siharak, S., Boonsri, S., & Khuanwang, W. (2023). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Social Science and Cultural, 7(3), 47-63.
Ogle, Donna. (1986). K-W-L: A Teaching Model That Develops Active Reading of Expository Text. Reading Teacher, 39(6), 564-570.
Phusamart, B., Juntachum, N., & Khechornphak, T. (2021). The Development of Grade 5 Students Ability in Mathematical Problem Solving by Using KWDL Technique. Journal of Roi Et Rajabhat University, 15(2), 146-153.
Slavin. (1990). Cooperative Learning Models for the 3 R'S. Journal of Educational leadership, 47(4), 22-28.