ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลหะดีษ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2

Main Article Content

ฮำมาดี เหมและ
อับดุลรอแม สุหลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาอัลหะดีษ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาอัลหะดีษ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาอัลหะดีษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา จำนวน 45 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 2) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Sample t-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาอัลหะดีษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาอัลหะดีษระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{} = 4.71, S.D. = 0.18)

Article Details

How to Cite
เหมและ ฮ. ., & สุหลง อ. . (2024). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลหะดีษ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/2996
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนกันต์ วงษ์สันต์. (2565). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ ตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยมหาลัยเวสเทิรน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2),1-12.

ฐิติพร ปานมา. (2554). การประเมินและการพัฒนาโจทย์ปัญหา (Scenario). จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 4(2), 7-8.

ทิศนา แขมมณี. (2557). องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์.

ธงชัย แกละมงคล. (2560). การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริยานุช คิมหะจันทร์. (2558). ความสำคัญของความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในการเรียนภาษาอังกฤษ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(2), 181-189.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย, 12(23), 123-133.

รัชนี อุดาทา. (2552). การส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปางสัก จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วาสนา กีรติจำเริญ. (2559). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five Learning. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 9-19.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ระบบประกาศและรายงานผลการทดสอบมาตรฐานอิสลามศึกษา (I-NET). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก: www.niets.or.th.

สาริญา และสุม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สาวิตตรี พรหมบึงลำ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 246-259.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานศึกษาธิการ.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานฯ.

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2564). การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ในรายวิชาหลักการพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, ฉบับพิเศษ, 60-70.

อภิญญาภรณ์ โสภา. (2557). ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มการศึกษาในระบบล้อกโอเคเนชั่น. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 9(1), 31-43.

อัมรัน มะเซ็ง. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 81-90.

อาซีซัน เกปัน. (2556). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมอิสลามแก่นักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม, มหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์ ปัตตานี.

อิรฟัน หะยีมะ. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.