สภาพและผลกระทบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

วิทยา พยายาม
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนของโรงเรียน และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น การวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การสนทนากลุ่มกับผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอนจากโรงเรียนแกนนำ 7 โรงเรียน จำนวน 12 ท่าน การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน 3 ท่าน และการเก็บข้อมูลแบบไม่มีส่วนร่วมกับโรงเรียนแกนนำทั้ง 7 โรงเรียน และตอนที่ 2 ทำการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และด้านการพัฒนาวิชาชีพครู รวม 5 ท่าน ใช้แบบสนทนากลุ่มกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยประเด็นหลัก 1 ประเด็น คือ สภาพการบริหารวิชาการ 6 ด้านไม่ตอบโจทย์เป้าหมายการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพ เช่น ด้านแผนงานวิชาการและประกันคุณภาพไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ชั้นเรียน ผู้เรียนและครู ด้านการบริหารหลักสูตรไม่ได้ใส่ใจศึกษาหลักสูตรด้านการจัดการเรียนรู้ไม่ได้มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ขาดการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ด้านการวัดและประเมินผลเน้นการสอบเป็นหลัก ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูเน้นการอบรมภายนอก และประเด็นเพิ่มเติม 4 ประเด็น คือ 1) รูปแบบของการเริ่มต้นรู้จักนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน 2) ความเข้าใจของโรงเรียนต่อนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน 3) ภูมิหลังและความเป็นมาของการขยายแนวคิดนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) แนวคิดและหลักการอิสลามเอื้อต่อการดำเนินนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน ผลกระทบต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน 6 ด้าน พบว่า 1) ด้านแผนงานวิชาการและการประกัน สามารถตอบโจทย์มาตรฐานการประกันคุณภาพสถานศึกษา 2) ด้านการบริหารหลักสูตร ผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการและครูผู้สอนให้ความใส่ใจศึกษาหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนรู้ เป็นชั้นเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) ด้านการบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ผู้บริหารสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้ เพื่อเอื้อต่อการออกแบบสื่อของครูผู้สอน 5) ด้านการวัดและประเมินผลเน้นไปที่พัฒนาการรายบุคคล ให้ความสำคัญกับกระบวนการและแนวคิดการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 6) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู รูปแบบการพัฒนาครูเปลี่ยนการจากการเน้นส่งครูเข้าอบรมมาเป็นการพัฒนาผ่านกระบวนการทำงานปกติในชั้นเรียน โดยภาพรวมเป็นผลกระทบเชิงบวกต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ใช้นวัตกรรม แต่พบว่ามีบางประการที่เป็นผลกระทบเชิงลบ คือ ครูผู้สอนต้องทำงานหนักเพื่อให้การดำเนินนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนส่งผลที่ดีต่อนักเรียน

Article Details

How to Cite
พยายาม ว. ., & อัซซอลีฮีย์ ม. (2022). สภาพและผลกระทบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนแบบญี่ปุ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 11–31. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/309
บท
บทความวิจัย

References

กิติมา ปรีดิลก. (2545). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลจิรา รักษนคร, พันธิวา เหล่าสมบัติ และปิยะธิดา ประทุมศิริ. (2557). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 เรื่อง “กินดีมีสุข” โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2), 8-20.

เจนสมุทร แสงพันธ์ และอัญชลี ตนานนท์. (2561). การศึกษาชั้นเรียนในฐานะระบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(3), 665-674.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (ปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งฯ.

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์ และคณะ. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีแบบเปิด (Open Approach) : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 76-80.

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน: นวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(2), 12-21.

นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2559). การจัดการศึกษาในอิสลาม : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ปัญญา แก้วกียูร และสุภัทร พันธ์พัฒนากุล. (2545). การบริหารจัดการศึกษารูปแบบการใช้โรงเรียนหรือเขตพื้นที่การศึกษาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

สภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. (2554). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study): แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารวิจัย มข, 2(1), 86-99.

สุพชาต ชุ่มชื่น. (2553). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี. สารนิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ งามกนก. (2556). การบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาบทเรียน (Lesson Study). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 37-47.

สุลัดดา ลอยฟ้า และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. 2547. การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 18-28.

ศศิรดา แพงไทย. (2560). บทบาทผู้บริหารกับการนำนวัตกรรมการศึกษาสู่การปฏิบัติ : กรณีโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์. วารสารวิจัยและพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 9(1), 124-134.

ฮาฟีซี อูมา. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยการนำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Assalihee, A., Premprayoon, K., Payayam, W., & Radenahmad, N., (2018). Conditions and Problems on Implementing Japanese Lesson Study in Islamic Private Schools in Southern Thailand. Journal of Islamic Studies, 9(1), 49-57.

Lewis, C. (2006). Lesson Study: A handbook of teacher-led Instructional change. Philadelphia : Research for better schools.