การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่อง การจ่ายซะกาต โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2

Main Article Content

อับดุลฮาฟิซ ปูเต๊ะ
มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่อง การจ่ายซะกาตโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2/2 โรงเรียนดารุสสาลาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 50 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย​​ (Simple Random Sampling) แบบจับฉลากไม่คืนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การจ่ายซะกาต 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่อง การจ่ายซะกาต 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Pair Sample t-Test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รายวิชาอัลฟิกฮฺสำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เท่ากับ 83.80/86.70 ตามที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนและหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก (equation = 4.40, S.D. = 0.22)


 

Article Details

How to Cite
ปูเต๊ะ อ. ., & เฮงยามา ม. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺ เรื่อง การจ่ายซะกาต โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(2), 12–22. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/3889
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรอิสลามศึกษา 2546 (ฉบับปรับปรุง 2555) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก: https://www.skprivate.go.th/group/detail/96.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อสารศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บาหยัน จรรยาพิลาทิพย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มูหามัดไซฟู เจ๊ะเฮ็ง. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านอัลกุรอานโดยใช้ E-book สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ. (น.141-153), 18 ธันวาคม 2565. ยะลา: มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.

ยูซุฟ อัลก็อรฏอวีย์. (2006). ฟิกฮฺอัซซะกาต: ศึกษาเปรียบเทียบว่าด้วยบทบัญญัติและปรัชญาตามอัลกุรอ่านและอัซซุนนะห์. พิมพ์ครั้งที่ 25. อียิปต์: วะฮฺบะห์เพื่อการตีพิมพ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ระบบประกาศและรายงานผลการทดสอบมาตรฐานอิสลามศึกษา (I-NET) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566, จาก: www.niets.or.th.

สานาดี เจ๊ะแน. (15 มิถุนายน 2566). ผู้สอนรายวิชาอัลฟิกฮฺ. สัมภาษณ์.

แสงนภา บารมี. (2564). ผลของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง กลุ่มยาจิตเวชต่อนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 184-197.

อาดีละห์ ลือแบบราเห็ง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์รายวิชาอัตตารีคเรื่องอูลุลอัซมียฺ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. MENARA: Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI), 2(1), 41-54.

อาบูบักรฺญาบิร อัลญาซาอีรีย์. (2004). มินฮาจฺอัลมุสลิม: ว่าด้วยหลักศรัทธา หลักคุณธรรมจริยธรรม หลักปฏิบัติและหลักธุรกรรม. อียิปต์: ดารุสสลาม.

อภิสิทธิ์ ไชยรส อุบลวรรณ สายทอง และเสาวภา คิดดี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง นิทานพื้นบ้าน 4 ภาค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 1(2), 95-108.

อรัญญิกา สอนพิมพ์. (2567). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเปิดโลกเมียนมาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book). Journal of Modern Learning Development, 9(5), 188-204.

ฮาสะนะ เสนสะนา. (2566). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนปลายปีที่ 1. MENARA: Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI), 4(2), 37-50.

Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective Handbook. New York: David Mc Kay Company lnc.