การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สาระวิชาอัลอัคลาก สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อัซมาน เดอะ
ยามีละห์ โต๊ะแม
อับดุลรอแม สุหลง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดนิทานประชาชาติที่ดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์คุณภาพ 80/80 2) เพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังเรียน รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี ประชากรเป้าหมาย  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบ้านบือแนปีแน ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จำนวน 18 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ ได้แก่ 1. ชุดนิทานประชาชาติที่ดี รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เรื่อง 2. แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ  มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดนิทานประชาชาติที่ดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์คุณภาพ 80/80 เท่ากับ 83.33/85.83 ซึ่งมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2) การประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80 เท่ากับ 83.89 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระหว่างก่อนและหลังเรียน รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียน 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชา อัลอัคลาก โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดีนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
เดอะ อ., ยามีละห์ โต๊ะแม, & อับดุลรอแม สุหลง. (2022). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดนิทานประชาชาติที่ดี สาระวิชาอัลอัคลาก สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(1), 44–57. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/520
บท
บทความวิจัย

References

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. (2542). อัลกุรอาน ฉบับแปลภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). เอกสารประกอบหลักสูตรอิสลามศึกษาพุทธศักราช 2546. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา.

สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนและกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญสุดา ธงสุวรรณ. (2559). ผลของการใช้นิทานที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และความคงทนในการจําคําศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 7

ซูกายนะห์ มาแห (2564 : 74) การพัฒนาทักษะการอ่านและการจาคาศัพท์อัลหะดีษโดยใช้หนังสือนิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ธารทิพย์ เกษรามัญ (2561 : 156-157) ) ได้ศึกษาเรื่องการศึกษาความสามารถในการอ่าน-การเขียนภาษาอังกฤษและแรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4 โรงเรียน บ้านหนองแก (สามัคคีวิทยา) โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐานด้วยอรรถลักษณะของนิทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นูรียะห์ บือแน, “การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H ร่วมกับการใช้นิทานประกอบ รายวิชาอัลอัคลากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วารสาร MENARA : Journal of Islamic Contemporary Issues (M-JICI), 2 (มกราคม-มิถุนายน 2564): 27-28.

พรรณทิพา มีสาวงษ์. (2554) ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการใช้คำถามที่มีต่อทักษะ การคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ

ภคพร เครือจันทร์. (2559). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 โรงเรียนนายกวัฒนากร วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก โดยใช้เทคนิคการตั้งคาถาม (5W1H) ในการจัดการเรียนรู้. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ภาชินี เต็มรัตน์ และ กษมา สุรสิทธิ์, “การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้นิทานพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา,” วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 18 (กรกฎาคม 2563): 406-407.

มารุตร์ ฮวบจันทร์ (2558). ผลของการเล่านิทานและกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อ ความรู้และการบริโภคผักของเด็กปฐมวัย. สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มูฮำหมัดโซฟี สามะอาลี. (13 กุมภาพันธ์ 2560). ครูสอนอิสลามศึกษา. สัมภาษณ์

โรงเรียนชุมชนบ้านนือแนปีแน (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560-2562 โรงเรียนชุมชนบ้านนือแนปีแน งานฝ่ายวิชาการ.

วินัย ดะห์ลัน. (2561). สอนคิดแบบอิสลาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://deepsouthwatch.org/node/11801. [15 มกราคม 2563]

ศิริพร อําพันธ์ศรี (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษที่มีต่อความเข้าใจในการอ่าน ภาษาอังกฤษ

และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

สมเพียร เหลาคา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านคําโดยใช้นิทานอีสปประกอบชุดฝึกทักษะสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สาวิกาพร แสนศึก. (2560) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมวาดภาพประกอบการเล่านิทานที่มีต่อพัฒนาการความคิดคล่องแคล่วความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออของเด็กปฐมวัย หลกัสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สําอางศรี ทวีฤทธิ์. (2555). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 คุรุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553) จิตวิทยาการศึกษา. พิมพลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย

อานันต์ เณรฐานันท์ (2561) การศึกษาความสามารถในการฟัง-การพูดภาษาอังกฤษและความสนใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลูกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ฮายาตี ดอร์เลาะห์ (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้อัลฟิกฮฺ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือนิทาน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.