การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้อัลฟิกฮฺ เรื่องหัยฎและอิสติฮาเฎาะฮฺ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาจากการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องหัยฎและอิสติฮาเฎาะฮฺหลังเรียนโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องหัยฎฺและอิสติฮาเฎาะฮฺโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องหัยฎฺและอิสติฮาเฎาะฮฺโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้อัลฟิกฮฺ เรื่องหัยฎและอิสติฮาเฎาะฮฺ โดยประชากรนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1 โรงเรียนศึกษาศาสตร์ อิสลาม จำนวน 244 คน จำนวน 6 ห้อง และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบทักษะการคิดแก้ปัญหาเป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเท่ากับ E1/E2 = 80.31/84.94 2.) ทักษะการคิดแก้ปัญหาจากการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องหัยฎและอิสติฮาเฎาะฮฺหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.66 3.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรายวิชาอัลฟิกฮฺเรื่องหัยฎฺและอิสติฮาเฎาะฮฺโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1 หลังเรียนมีค่าร้อยละ 28.58/33.98 4.) ความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63
Article Details
References
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) : รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. สืบค้นวันที่ 5 เดือนกันยายน ปี 2563. จากเว็บไซต์ : http://www.opes.go.th/
กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2553). ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. ปทุมธานี : โรงพิมพ์ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ ดิษฐปัญญา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา (ISSN : 1905-9450).
ฟารีดา ดอแม. (2562). ผลของการจัดการเรียนรุ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาสาระการเรียนรู้อัลอัคลากสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
ภาณุพล โสมูล. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่ออินโฟกราฟิก. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุสดา จะปะเกีย. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและความพึงพอใจในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2558). การวิจัยและสถิติทางการศึกษา. นนทบุรี.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัฒนาพร ดวงดีวงศ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหา เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชุดา วงค์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรุ้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Naw May Emerald. (2013). Students’ Perception of Problem-based Learning Conducted in Phase 1 Medical Program‚ UCSI University‚ Malaysia. South East Asian Journal of Madical Education. 7(2).
Sahih Muslim. (822-875). Sohih Muslim. Beirut Lebanon : Dar El-Kutub El-Ilmiyah.