กลยุทธ์ทางการตลาดของโรงเรียนในภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 : กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนสามัญควบคู่ศาสนาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ต่วนคอรีเยาะ ดาตู
ซัมซู สาอุ

บทคัดย่อ

กลยุทธ์ทางการตลาด เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการอยู่รอดของโรงเรียนเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต โรคระบาดโควิด 19 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดของโรงเรียน จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า ทางโรงเรียนได้ปรับกลยุทธ์การตลาดด้วยกระบวนการ 4R คือ R1 การคงไว้ซึ่งจุดแข็งการตลาดเดิมของโรงเรียน (Remain) R2 การสร้างจุดขายของโรงเรียนที่น่าสนใจ (Re-invent) R3 การลดความยุ่งยากและอำนวยความสะดวกของนักเรียนและผู้ปกครอง (Reduce) และ R4 การเปิดพื้นที่และช่องการสื่อสารใหม่ ๆ ในการติดต่อสื่อสาร (Re-channel)




Article Details

How to Cite
ดาตู ต., & สาอุ ซ. . (2022). กลยุทธ์ทางการตลาดของโรงเรียนในภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 : กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนสามัญควบคู่ศาสนาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 1(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/701
บท
บทความวิจัย

References

กุลพร พูลสวัสดิ์ และ อนุชิต จุรีเกษ. (2559). กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับสถานศึกษา (Strategic Marketing For School) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : http://pracharathschool.go.th/skill/detail/52234

เกษศิรินทร์ ภิญญาคง. (2554). หลักการตลาด. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศซื้อ ที่มีผลต่อการตัดสินใจสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊คไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพ มหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

เชษฐา เถาวัลย์. (2557). องค์ประกอบในการตัดสินใจของผู้ปกครองมุสลิมที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนต่อในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นภาภรณ์ ขลุ่ยนาค. (ม.ป.ป.). การพัฒนาตลาดเป้าหมาย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565, จาก : http://elearning. psru.ac.th/courses/255

นุช สัทธาฉัตรมงคล และ อรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน, วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-118.

มนัส บุญชม และ ชญาพิมพ์ อุสาโท. (2557). การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 72-86.

สันวิช แก้วมี ศักดา สถาพรวจนา และ สมศักดิ์ จัตตุพรพงษ์. (2561). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในทศวรรษหน้า. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 171-182.

Doyle, P., & Wong, V. (1998). Marketing and competitive performance: An empirical study. European Journal of Marketing, 32(5/6), 514-535.