การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาวกัมพูชา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ชายแดนไทย–ลาว–กัมพูชา
คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูล, ระบบฐานข้อมูลดิจิทัล, สารสนเทศท้องถิ่น, การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม, เขตพื้นที่ชายแดน ไทย-ลาว-กัมพูชาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลความต้องการของนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พื้นที่จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก เพื่อศึกษาเมทาดาทา (Metadata) ระบบฐานข้อมูลฐานข้อมูลดิจิทัลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา 2) เพื่อสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา และ
3) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไทย-ลาว-กัมพูชา ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสืบค้นได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งพัฒนาโดยโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) ในการเขียนโปรแกรม และใช้ฐานข้อมูลมายเอชคิวแอล (MySQL) ในการจัดเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้คัดเลือกข้อมูลลงฐานข้อมูล (การสัมภาษณ์) ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประกอบด้วย จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลไพรพัฒนา จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลด่าน และจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก กลุ่มผู้ประเมินฐานข้อมูล ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพรพัฒนา ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่าน และประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสำรวจข้อมูลความต้องการของนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการสำรวจและรวบรวมข้อมูลความต้องการของนักวิชาการด้านวัฒนธรรม จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ 30 คน ได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 10 คน นักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 10 คน และนักวิชาการวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 10 คน วิธีการศึกษาพบว่า เห็นด้วยกับรายข้อต่าง ๆ ในส่วนของเนื้อหาของฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล
4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตพื้นที่ชายแดน ไทย-ลาว-กัมพูชา ประเพณีและวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษในระดับมาก เนื่องจากผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการลงภาคสนามจริง ข้อมูลจากชุมชนจริง โดยเฉพาะรูปแบบ
การนำเสนอผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการวิเคราะห์ การออกแบบ จากหนังสือคู่มือ และสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ 2) ผลการศึกษาเมทาดาทา (Metadata) ระบบฐานข้อมูลฐานข้อมูลดิจิทัล การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา
วิธีการศึกษาโดยการสนทนากลุ่ม 30 คน ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านจำนวน 10 คน จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก จำนวน 10 คน และจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลไพรพัฒนา จำนวน 10 คน ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ได้ให้ความสำคัญของข้อมูล Title ชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ควรใช้เป็น ชื่อภาพ ชื่อกิจกรรม และชื่อโครงการ 3) ผลการ-ออกแบบการสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา
เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตพื้นที่ชายแดน ไทย-ลาว-กัมพูชา แบ่งการทำงานสำหรับผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป (User) และกลุ่มของผู้ดูแลระบบ (Admin)
ซึ่งสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 คน 3) ผลการพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไทย-ลาว-กัมพูชา ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสืบค้นได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการทดสอบ และประเมินฐานข้อมูล 90 คน ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพรพัฒนา จำนวน 30 คน ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่าน จำนวน 30 คน ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก จำนวน 30 คน วิธีการศึกษาพบว่าการทดสอบและประเมินฐานข้อมูลส่วนใหญ่
มีความคิดเห็น โดยรวมเกี่ยวกับฐานข้อมูลในส่วนของเนื้อหาในระดับ มากที่สุด
( = 4.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ทดสอบและประเมินฐานข้อมูลเห็นด้วยกับทุกรายข้อในระดับมากที่สุดโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ขอบเขตข้อมูลที่ปรากฏ
มีความเหมาะสม ( = 4.67) รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจโดยรวมต่อข้อมูลที่ได้รับ
( = 4.60)
References
สิทธิชัย บวชไธสง. (2560). ฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ. รังสิตสารสนเทศ, 23(2), 99-115.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop
อรรถพล ช่วยค้ำชู. (2554). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลสำหรับกระบวนการขอผ่อนผันค่าบำรุงการศึกษา กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร [สารนิพนธ์สาขาวิชาวิศวกรรม
การจัดการอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.