การสร้างสรรค์การแสดงนาฏยประดิษฐ์ : ระบำเทวีอัปสราตาเมือนธม สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
นาฏยประดิษฐ์, นางอัปสรา, ปราสาทตาเมือนธมบทคัดย่อ
ระบำเทวีอัปสราตาเมือนธม สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นผลงานที่ได้ผลการศึกษามาจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณ ด้านภาพสลักนางอัปสรที่พบบริเวณส่วนประกอบภายในของปราสาทตาเมือนธม ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ จากการค้นคว้าเอกสาร และการลงภาคสนาม โดยใช้กระบวนการ สำรวจ สังเกตและสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูล ที่ได้มาจัดกระทำ และตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า (Data Triangulation) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว มาออกแบบการแสดงนาฏประดิษฐ์ ที่ใช้เทคนิคการบูรณาการระหว่าง จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ กับการใช้แนวคิดหลักนาฏยประดิษฐ์ 5 ข้อ ประกอบด้วย 1) เรื่องราว 2) ท่ารำ 3) การแต่งกาย 4) ดนตรี 5) การแปรแถว ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงสร้างสรรค์ผลงานตามขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1) การกำหนดโครงร่างร่วม 2) การออกแบบการแสดง 3) การสร้างสรรค์การแสดงและการประเมินผลความพึงพอใจของผู้ชม ผลจากการศึกษาพบว่า ภาพสลักนางอัปสรปราสาทตาเมือนธม เป็นการศึกษาเพื่อนำท่าทางที่พบมาพัฒนาเป็นท่ารำ โดยใช้แม่ท่าจากตำรานาฏยศาสตร์ ฉบับภรตมุนี ที่เรียกว่าท่ารำพระศิวะ 108 กระบวนท่า สู่การสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยกับท่าทางที่ประดิษฐ์ท่าขึ้นมาใหม่ ประสานกับจังหวะทำนองเพลงที่ให้ความรู้สึกคล้อยตามเรื่องราว โดยยกประเด็นความงามของนางอัปสร และความศรัทธาของมนุษย์ต่อเทวสตรี ซึ่งได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ มาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เชื่อว่านางอัปสรเป็นบุคคลที่ดลบันดาลความสงบร่มเย็นมาสู่มวลมนุษย์ได้ ผลงานชิ้นนี้เป็นลักษณะของงานสร้างสรรค์เชิงทดลอง และเป็นการแสดงชุดเดียวที่ได้รับแนวคิดมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จากเรื่องเล่าจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีต่อปราสาทตาเมือนธม สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เป็นการแสดงที่เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางจิตใจ ด้านความเชื่อ การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และความศรัทธาต่อเทพเจ้า ซึ่งนับเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ แต่จะผันแปรไปตามบริบท ตามยุคสมัยที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ปั้นแต่งให้เทพเจ้านั้นมีอยู่จริง และเป็นสื่อที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมโบราณสถานได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของปราสาทแห่งนี้
References
กีรติ บุญเจือ. (2522). ชุดปัญหาปรัชญา ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ปแฎงมหาบุญเรือง คัชมาย์. (2551). กลุ่มปราสาทตาเมือน. พิมพ์ครั้งที่ 1 สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
พิญชา สุ่มจินดา. (2560).“ภาพงานพระเมรุสมเด็จพระเพทราชาที่ค้นพบใหม่กับข้อวินิจฉัยเบื้องต้น,” ศิลปวัฒนธรรม 38 (มกราคม): 99–90.
พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2539). ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สุรพล, วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศิริพร สุเมธารัตน์. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557). นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ศานติ ภักดีคำ. (2557). ครุฑ. อมรินทร์: กรุงเทพมหานคร.
อนงค์ หนูแป้น. (2535). การศึกษากลุ่มปราสาท. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุไร นาลิวันรัตน์. (2522). นางอัปสรในวรรณคดีสันสกฤต. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาอักษร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.