การต่อรองอำนาจของผู้หญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีน ผ่านละครโทรทัศน์ เรื่องเลือดข้นคนจาง
คำสำคัญ:
การต่อรองอำนาจ, ละครโทรทัศน์, ครอบครัวไทยเชื้อสายจีนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการต่อรองอำนาจของผู้หญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีนผ่านละครโทรทัศน์ การประกอบสร้างความหมายและสัญญะที่ปรากฏในละคร เรื่องเลือดข้นคนจาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายเชิงสัญญะ การถอดรหัสความหมายเชิงสัญญะของการต่อรองอำนาจของผู้หญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีนเรื่อง เลือดข้นคนจาง โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทด้วยการถอดรหัสและการเข้ารหัสตามแนวคิดเกี่ยวกับสัญวิทยา และการประกอบสร้างความหมายเป็นเครื่องมือในการศึกษา เพื่อเป็นภาพสะท้อนตัวแทนละครไทยเชื้อสายจีน การต่อรองอำนาจของผู้หญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีนของสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ด้วยการถอดรหัสและการเข้ารหัสโดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท ทำให้เห็นถึงการประกอบสร้างความหมายในละครโทรทัศน์ เรื่องเลือดข้นคนจาง โดยแบ่งได้เป็น 3 บทบาทคือ (1) บทบาทในฐานะการเป็นแม่ พบว่าสถานะความเป็นแม่ยังคงมีปัญหาความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในครอบครัว บทบาทของการต่อรองสถานะชายเป็นใหญ่เมื่อต้องเป็นเสาหลักให้วงศ์ตระกูล และหากต้องการเป็นแม่ ที่สมบูรณ์จะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย (2) บทบาทในฐานะการเป็น ลูกสาว พบว่าความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่จะเป็นรองลูกชาย อีกทั้งได้รับมรดก ที่น้อยกว่าลูกชาย ไม่ได้รับสิทธิของครอบครัวในบางประการ และ (3) บทบาทในฐานะการเป็นผู้นำธุรกิจ พบว่า ผู้นำหญิงจะได้รับพื้นที่และโอกาสอย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย สังคมรอบข้างยอมรับในศักยภาพมากขึ้น ดังนั้นแล้วการศึกษาการต่อรองอำนาจของผู้หญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีนผ่านละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง ทำให้รับรู้ถึงภาพสังคมไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบทบาทของความเป็นหญิงในครอบครัวไทยเชื้อสายจีน ที่จะทำนายให้เห็นภาพทางสังคมไทยเชื้อสายในอนาคตได้
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง.
ปรีดา อัครจันทโชติ. (2018). ความเป็นจีนในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36(1), 1-20.
ปิ่นหล้า ศิลาบุตร. (2008). สถานภาพและบทบาทของตัวละครหญิงในนวนิยายของปิยะ พรศักดิ์เกษม(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร).
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2546). เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนไทยเชื้อสายจีน (วิทยานิพนธ์ ปริญญามานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาสินี พิพิธกุล. (2544). ผู้หญิงกับเทคโนโลยีข่าวสาร : แนวทฤษฎีและข้อเสนอแนะ สตรีศึกษา 2: ผู้หญิงกับประเด็นต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
รวิช ตาแก้ว. (2552). “แม่”: มุมมองเรื่องเล่าในบริบทของสังคมไทย.วารสารการศึกษาไทย, 6(59), 10-14.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2551). กำเนิดและวิวัฒนาการของคนจีนแต้จิ๋วในไทยอดีตถึง ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ขุนเขา.
Allport, G. W., & Vernon, P. E. (1930). The field of personality. Psychological bulletin, 27(10), 677.
Bhasin, K. What is Patriarchy (New Delhi: Kali for Women, 1993). Lerner, Gerda, The Creation of Patriarchy (Oxford: Oxford University Press, 1986), 20-22.
Hall, S. (1997). The work of representation. Representation: Cultural representations and signifying practices, 2, 13-74.
Millett, K. (2016). Sexual politics. Columbia University Press.
Yan, J., & Sorenson, R. (2006). The effect of Confucian values on succession in family business. Family business review, 19(3), 235-250.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.